คณะศิลปศึกษา http://musicesan.siam2web.com/



 พิณ


            พิณ เป็นเครื่องดนตรีประเภทมีสายขึงตึงใช้ดีดบรรเลง เรียกตามภาษาบาลีและสันสกฤตว่า  “ วีณา “ เป็นเครื่องดนตรีที่พบเห็นในหลายเชื้อชาติเพียงแต่มีชื่อเรียกแตกต่างกัน  มีรูปร่างลักษณะที่คล้ายคลึงกัน  คือเป็นเครื่องดนตรีที่ขึงด้วยสายใช้ดีด    สิ่งที่น่าเชื่อว่า  พิณเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่นั้นเท่าที่ปรากฏหลักฐานในไทย คือ

หลักฐานทางประวัติศาสตร์  

มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุปูนปั้น  บริเวณซึ่งในอดีตเป็นที่ตั้ง อาณาจักรสุวรรณภูมิ  ปัจจุบันคือตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี  เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี ราว พุทธศตวรรษที่ 13  สูง  67.5 ซม.  ซึ่งปั้นเป็นรูปนางทั้งห้าบรรเลงดุริยะดนตรี นางหนึ่งบรรเลงพิณเพียะ หรือพิณน้ำเต้า  นางหนึ่งดีดพิณห้าสาย สังเกตจากตรงคอของคันทวนที่เสียบลูกบิด มีรูปร่างแบนๆ คล้ายคอกีตาร์ ข้างหนึ่งมี 3 อัน อีกข้างมี  2  อัน  ตัวพิณมีรูปร่างรียาวคล้าย “ ปิปะ “ ของจีนหรือพิณของชาวอีสานในปัจจุบัน  นางหนึ่งตีกรับ    นางหนึ่งตีฉิ่ง และอีกนางหนึ่งขับลำนำ                                                                   


 


 
   
 


   หลักฐานทางวรรณคดี

   1.จากวรรณคดี เรื่อง  ไตรภูมิพระร่วง    พญาลิไทกษัตริย์กรุงสุโขทัย ร.4   ทรงพระราชนิพนธ์ไว้   เมื่อปี พ.ศ. 1903  กล่าวถึงพิณ ว่า

          “ เสียงนั้นดังเพราะหนักหนา และเพราะกว่าเสียงพาทย์ เสียงพิณ ฆ้อง กลอง แตรสังข์ ฟังเสียงกลองใหญ่ กลองราม กลองเล็ก และฉิ่งแฉ่ง  บัณเฑาะว์ เสนาะ วังเวง ลางคนตีกลอง ตีพาทย์ ฆ้องกรับ สัพพทุกสิ่ง บางจำพวกดีดพิณและสีซอพุงตอ “

                                              ( ศาสตราจารย์ ดร.อุทิศ  นาคสวัสดิ์ 2512 : 164 )

     “ พุทธประวัติ “  ตอนที่ พระอินทราธิราชเสด็จลงมาดีดพิณ  3   สายถวายเพื่อเป็นอนุสติแก่พระพุทธเจ้า ก่อนที่พระองค์ทรงตรัสรู้สำเร็จสัมโพธิญาณ ว่า “ การบำเพ็ญเพียรแสวงหาโฆกษธรรมนั้นถ้าเคร่งครัดนักก็เปรียบเสมือนการขึ้นสายพิณให้ตึงเกินไปย่อมขาด ถ้าหย่อนยานนักย่อมไม่มีเสียงไพเราะ แต่ถ้าทำอยู่ในขั้นมัชฌิมาปานกลาง ก็เหมือนการขึ้นสายพิณแต่พอดีกับระดับเสียง ย่อมให้เสียงดังกังวานไพเราะแจ่มใสดังใจความในวรรณคดี เรื่อง “ พระปฐมสมโพธิกถา  “ พระราชนิพนธ์ ของสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ว่า

 “ ขณะนั้น สมเด็จอมรินทราธิราช ทราบในข้อปริวิตก ดังนั้นจึงทรง พิณทิพย์สามสาย มาดีดถวายพระมหาสัตย์ สายหนึ่งเคร่งนักพอดีดก็ขาดออกไป เข้าก็ไม่บันลือเสียง และอีกสายหนึ่งนั้นไม่เคร่งไม่หย่อนปานกลาง ดีดเข้าก็บันลือศัพท์ไพเราะเจริญจิต พระมหาสัตย์ได้สดับเสียงพิณ ก็ถือเอานิมิตอันนั้นทรงพิจารณาเห็นแจ้งว่า มัชฌิมาปฏิบัตินั้นเป็นหนทางพระโพธิญาณ “

           ( สมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส  2526 : 113 )

                        พิณสมัยโบราณแต่เดิมคงใช้กระโหลกทำด้วยผลน้ำเต้าแห้ง  ทำให้เสียงก้องกังวานเช่น พิณโบราณ   จึงมีชื่อเรียกว่า  “ พิณน้ำเต้า “   พิณ มีชื่อเรียกต่างกันตามภูมิภาค  คือ ซุง , ซึง  ,โตดต่ง  ชาวผู้ไท เรียกพิณว่า “ กระจับปี่ “   พิณมีสายตั้งแต่ 1 – 2 – 3 – 4  สาย   

ชนิดของพิณ

พิณในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทยจำแนกเป็นสองประเภท ดังนี้

1.ประเภทที่ดีดเพื่อผลิตหางเสียง ขึ้นมาก่อนแล้วจึงใช้หางเสียงนั้นบรรเลงเป็นเพลง คำว่าหางเสียง OVERTONE  หรือ    UPPER – PARTIAL  อันเป็นเสียงที่เกิดขึ้นบนพื้นฐานของเสียงประเภทหนึ่งในตระกูลเดียวกัน   ได้แก่

1.1 พิณน้ำเต้า    

                       เป็นเครื่องดีดที่เดิมใช้สายเอ็นสัตว์ตากแห้ง และพัฒนามาใช้ไหม  ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นสายโลหะมีเพียงสายเดียว   พิณน้ำเต้าเป็นเครื่องดนตรีของไทยที่เก่าแก่มากที่สุดที่ยังมีการเล่นสืบต่อกันมามีหลงเหลืออยู่ทางอีสานใต้ของประเทศไทยหลายท้องถิ่นเวลาดีดผู้เล่นจะไม่สวมเสื้อ   ใช้นิ้วมือซ้ายถือทวนคันพิณ     การถือทวนคันพิณทำได้โดยง่ายเพียงวางโคนของทวนคันพิณลงที่ง่ามมือซ้ายระหว่างโคนหัวแม่มือกับส่วนโคนของนิ้วชี้  ส่วนปลายของนิ้วชี้ ,ปลายนิ้วกลาง ,ปลายนิ้วนาง และนิ้วก้อยพร้อมที่จะกดลงที่สายของพิณเพื่อทำให้เกิดเสียงสูง-ต่ำ ให้เป็นทำนองเพลง แล้วเอากระโหลกพิณประกบติดกับหน้าอกซ้ายของผู้เล่นใช้มือขวาดีดสาย ที่นิ้วนางของผู้บรรเลงสวมปลอกโลหะเป็นเครื่องดีดแล้วขยับกระโหลกน้ำเต้าเปิดปิดที่หน้าอกทำให้เกิดเสียงก้องกังวาน

1.2 พิณเพียะ     มีลักษณะคล้ายพิณน้ำเต้าแต่มี  2  สาย กระโหลกซอทำด้วยลูกน้ำเต้าตัดครึ่งหรือกะลามะพร้าวก็ได้ วิธีดีดเหมือนกันกับพิณน้ำเต้า คลอเสียงร้องของตนเอง นิยมเกี้ยวสาวเวลากลางคืนเป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านทางภาคเหนือ

2.ประเภทดีดที่สายโดยตรง 

1.กระจับปี่    

                  คำว่า กระจับปี่ “เข้าใจว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “กัจฉปิ เป็นคำชวาเพี้ยนเป็น“ แขสจาปิ

หรือ “แคชจาเป็ย” ในภาษาขอม       ในภาษาบาลีสันสกฤต คำว่า กัจฉปะ แปลว่า เต่า  เพราะแต่เดิม

กระโหลกพิณมีรูปร่างคล้ายเต่า กระจับปี่เป็นเครื่องดนตรีโบราณชนิดหนึ่งของอินเดีย  จัดเป็นเครื่องดนตรีในกลุ่ม ”วีณา” (พิณ)  มี  4  สายมีตะพานหรือนมสำหรับกดสาย 11 อัน หรือ 11 ขั้น มีที่ดีดสายทำด้วยเขาสัตว์


2.ซึง   

                 เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านทางภาคเหนือ  มี 4  สาย   ลักษณะเหมือนกระจับปี่แต่เล็กกว่า

รูปร่างคล้าย  ”  เหยอะฉิน “ ของจีน แต่ปลายคันทวนของจีนมักจะสลักเป็นรูปมังกร แต่คันทวนของซึงทางภาคเหนือทำให้แบนและงอมาทางด้านหน้าไม่แกะสลักเป็นรูปหัวพญานาคหรือหัวหงส์

3.ซุง   

          ชาวอีสานมักเรียกพิณว่า “ ซุง “ หรือ โตดติต่ง ตามสำเนียงของเครื่องดนตรี   ซุง มี 2 – 3  และ  4  สาย แต่ปัจจุบันนิยมเล่น  3  สาย  ซุงพื้นบ้านนิยมใช้สายจากลวดเบรครถจักรยานทั้ง  3  สาย ปัจจุบันนิยมใช้สายกีตาร์สาย 1  สาย 2  และสาย  3  เพราะหาง่าย สะดวกในการใช้   ซุง  นิยมทำจากไม้ขนุน

(  ไม้หมากมี่  ) เพราะเบาทำง่าย ให้เสียงไพเราะ  ปลายคันทวนนิยมแกะสลักเป็นหัวพญานาค  หางพญานาค หรือหัวหงส์  ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาวอีสาน

 


 

1.ขั้นแบ่งเสียง  ( ขั้นพิณ )   

        ทำจากซี่ไม้ไผ่แบนผิว ( ด้านติว  ) ขึ้นรองรับสาย  ยึดติดคอพิณด้วยขี้สูดหรือกาว

2.หย่อง  ทำจากซีกไม้ไผ่เหลาให้แบนมีผิวด้านหนึ่งแต่งรูปให้โค้งนิดหน่อยและปาดความสูงให้พอเหมาะกับการพาดสายให้ห่างจากระดับคอพอที่จะกดนิ้วได้สะดวก

3.ลูกบิด  ทำจากไม้เนื้อแข็งปลายแบนกลม มี 3  ตัว ตามจำนวนสาย

4.สายพิณ  ทำจากลวดเบรกรถจักรยาน โบราณใช้สายไหมฝั้นจนเหนียวแน่นไม่ขาดง่ายหรือสายทองเหลืองแบบสายขิมก็ได้ แต่ปัจจุบันนิยมใช้สายกีตาร์สาย 1  สาย  2  สาย  3

5.ตัวพิณ    นิยมทำจากไม้ขนุนเพราะเบา ให้เสียงไพเราะ มีขนาดยาว ประมาณ 80 ซม. โดยวัดจากลูกบิด จนถึงเต้าพิณไม่รวมความยาวของหัวพญานาค   ถ้าเต้าพิณมีกล่องเสียงใหญ่จะมีเสียงทุ้มดังดีกว่าพิณขนาดเล็กและตื้น

6. หัวพญานาค     แกะจากไม้เนื้ออ่อน

7. รูเสียง   คือ  ปล่องหรือรูบริเวณตรงกลางตัวพิณทำให้เกิดเสียง

8. ที่ยึดสายพิณ   ทำด้วยไม้เนื้อแข็งใช้ยึดสายพิณระหว่างลูกบิดกับตัวพิณ

การดูแลรักษา 

1.การเก็บควรมีกล่องหรือถุงที่เย็บเรียบร้อยเพื่อป้องกันการแตกหักเวลาเคลื่อนย้าย

2.เมื่อใช้งานแล้ว ควรลดสายลงเล็กน้อยเพื่อรักษาสายให้ใช้งานได้นาน

3. พิณโปร่งเมื่อขั้นพิณหลุดควรใช้ขี้สูดหรือกาวลาเท็กซ์ติดไว้ตำแหน่งเดิมถ้าพิณไฟฟ้าปัจจุบันนิยมใช้เฟร็ตกีตาร์แทนขั้นไม้

4.เมื่อใช้งานนาน ๆ เสียงจะเพี้ยน ให้เปลี่ยนสายใหม่

5.ปิ๊กหรือไม้ดีด  สมัยก่อนใช้เขาควาย ปัจจุบันนิยมใช้ปิ๊กกีตาร์ดีด คงเพราะซื้อหาสะดวก   บางที่ใช้ขวดน้ำ

พลาสติคหรือบัตรโทรศัพท์ใช้แล้วตัดเป็นรูปทรงปิ๊กกีตาร์ก็มี

6.หลังใช้งานทุกครั้งควรใช้ผ้าสะอาดเช็ดสายเพราะสายพิณจะมีความชื้นจากเหงื่อทำให้เป็นสนิมได้ง่าย

การติดขั้นตั้งบันไดเสียง 

                     การติดขั้นตั้งบันไดเสียงลงบนคอพิณแต่เดิม สามารถเลื่อนตำแหน่งขั้นเสียงได้เพราะติดขั้นด้วยขี้สูดหรือชันโรง  (ปัจจุบันนิยมติดขั้นด้วยกาวเพื่อความคงทนไม่หลุดง่าย )   ทำได้  2  แบบ   คือ

1.ติดขั้นตามเสียงโปงลาง  ส่วนมากจะตั้งระดับ  5  เสียงคือ ลายใหญ่ ได้แก่เสียง  โด  เร  มี  ซอล  ลา

ส่วนลายเล็กได้แก่ เสียง  ลา  โด  เร  ฟา  ซอล  แต่ปัจจุบันวงโปงลางได้เพิ่มเสียงเป็น 6 เสียง ถึง 7  เสียง แล้ว เพื่อให้สามารถเล่นเพลงได้หลายประเภททั้งหมอลำ  ลูกทุ่ง ลูกกรุง  แม้กระทั่งเพลงสตริง

2. ติดขั้นตามเสียงแคนแปด  มีเสียงครบ 7  เสียง คือ โด  เร  มี  ฟา  ซอล  ลา  ที  สามารถใช้บรรเลงได้หลายบันไดเสียง  เช่น   ทางไมเนอร์  คือ  Am   ,  Dm    ทางเมเจอร์  คือ  C   ,  F  เป็นต้น


อักษรย่อภาษาอังกฤษ                        C       D      E       F       G       A      B

ตรงกับชื่อของตัวโน้ตดังนี้                โด        เร        มี         ฟา       ซอล     ลา      ที

ใช้อักษรย่อแทนชื่อตัวโน้ต                ด          ร         ม         ฟ          ซ         ล      ท

 

แบบที่ 1  ตั้งตามเสียงโปงลาง   ถ้าพิณ  สาย 

                                           ลายใหญ่ จะตั้งสาย 1   เสียง     มี        สาย  2   เสียง   ลา

                                           ลายน้อยจะตั้งสาย  1   เสียง     เร        สาย  2   เสียง   ลา     

                ดังตารางเสียงพิณ ลายใหญ่

          7                   6               5               4                   3                 2                  1         สายเปล่า

เร

โด

ลา

ซอล

มี

เร

โด

2.ลาต่ำ

ลา

ซอล

มี

เร

โด

ลา

ซอล

1.มี

ลายน้อย

          7                   6               5               4                   3                 2                  1       สายเปล่า

ซอล

ฟา

เร

โด

ลา

ซอล

ฟา

2.เรต่ำ

เร

โด

ลา

ซอล

ฟา

เร

โด

1.ลา

 

การตั้งพิณ 3 สาย 

ลายใหญ่จะตั้ง      สาย 1(สายเอก) เสียง มี ,สาย 2(สายทุ้ม) เสียง  ลา  สาย  3 (สายเสพ) เสียง  มีต่ำ

ลายน้อย ตั้ง         สาย 1(สายเอก) เสียง ลา ,สาย 2 (สายทุ้ม)เสียง  เร  สาย 3 (สายเสพ)  เสียง  ลาต่ำ 

“ สายเสพ ” มีหน้าที่ให้เสียงประสาน หรือ เสียงโดรน 

* กรณีเล่นลายสุดสะแนน   ตั้ง สาย 3(สายเสพ) เป็นเสียง   ซอลต่ำ    ดังรูป        ลายใหญ่

       7                 6               5                 4                   3                 2                  1          สายเปล่า

ลา

ซอล

มี

เร

โด

ลา

ซอล

3.มีต่ำ

เร

โด

ลา

ซอล

มี

เร

โด

2.ลา

ลา°

ซอล°

มี°

เร°

โด

ลา

ซอล

1.มี

ลายน้อย

       7                 6               5                 4                   3                 2                  1            สายเปล่า

เร

โด

ลา

ซอล

ฟา

เร

โด

3.ลาต่ำ

ซอล

ฟา

เร

โด

ลา

ซอล

ฟา

 2.เร

เร°

โด°

ลา°

ซอล°

ฟา

เร

โด

1.ลา


แบบที่ 2       ตั้งตามเสียงแคน 8 เสียง

 ถ้าพิณ  3  สาย   ลายใหญ่จะตั้ง สาย 1 เสียง  มี  สาย 2 เสียง ลา   สาย 3  เสียง   มีต่ำ

                        ลายน้อยจะตั้ง สาย  1 เสียง  ลา  สาย 2 เสียง เร   สาย  3 เสียง  ลาต่ำ      ดังรูป

ลายใหญ่

     11           10          9           8            7           6           5          4         3          2          1      สายเปล่า

ลา

ซอล

ฟา

มี

เร

โด

ที

ลา

ซอล

ฟา#

  ฟา

3.มีต่ำ

เร

โด

ที

ลา

ซอล

ฟา

มี

เร

โด

ที

ทีb

2.ลา

ลา°

ซอล°

ฟา°

มี°

เร°

โด°

ที

ลา

ซอล

ฟา#

ฟา

1.มี

 

ลายน้อย

     11          10            9           8          7            6            5           4        3          2         1        สายเปล่า


 
   
 

เร

โด

ที

ลา

ซอล

ฟา

มี

เร

โด

ที

ทีb

3.ลาต่ำ

ซอล

ฟา

มี

เร

โด

ที

ลา

ซอล

ฟา

มี

มีb

2.เร

เร°

โด°

ที°

ลา

ซอล

ฟา

มี

เร

โด

ที

ทีb

1.ลา

 

หมายเหตุ 

           การติดขั้นพิณบางวงได้เพิ่มขั้นครึ่งเสียงระหว่างสายเปล่ากับช่องที่ 1 ทำให้เกิดครึ่งเสียงช่องที่ 2 ถ้าลายใหญ่ก็ได้เสียง    ฟาชาร์ป  F#   สาย  3   ,  เสียงที  B  สาย 2  ,  เสียงฟาชาร์ป   F#  สาย  1

ถ้าลายน้อยก็ได้เสียงที   สาย  3    , เสียงมี สาย 2 , เสียงที  สาย  1 การตั้งสายพิณ

หรือเทียบสายทั้ง  2  สายและ  3  สาย  ควรตั้งสายให้ถูกต้องตามระดับเสียง  ถ้าไม่มีแคนหรือโปงลางสามารถตั้งสายโดยเทียบเสียงเปียโน หรือหลอดเป่าเทียบเสียงที่มีขายตามร้านจำหน่ายเครื่องดนตรีทั่วไปก็ได้


ภาพพิณหัวพญานาค

 

 

 

                                     ภาพพิณหัวหงส์

 

 

การฝึกดีดพิณ 

                   การเรียนดนตรีหัวใจสำคัญคือ การฝึก  ผู้เรียนต้องฝึกฝน   ฝึกร้องโน้ต  ฝึกฟังเพลง 

และอย่ายอมแพ้ต่อความเพียร

 

    ผู้ดีดพิณสามารถนั่งหรือยืนดีดก็ได้ ท่านั่งควรวางเต้าพิณหรือตัวพิณไว้บนขาขวาหรือขาซ้ายที่ถนัด

สามารถนั่งได้หลายแบบ เช่น นั่งขัดสมาธิ   นั่งพับเพียบ  นั่งเก้าอี้   ตามแต่ผู้ดีดถนัด  การกำมือซ้ายที่คอพิณ ควรกำอย่างหลวม เพื่อสามารถเคลื่อนย้ายนิ้วไปตามคอพิณได้สะดวก โดยใช้หัวแม่มือซ้ายดังรูป

 

ภาพท่าดีดพิณ

 

การวางนิ้วบนคอพิณ ผู้ดีดควรใช้นิ้วชี้ในขั้นหรือช่องที่ 1 – 2  , นิ้วกลางขั้นที่   3  , นิ้วนางขั้นที่   4  ,

ดังตัวอย่าง    


  ภาพนิ้วชี้ในขั้นหรือช่องที่ 1 – 2                 ภาพนิ้วกลางขั้นที่   3                  ภาพนิ้วนางขั้นที่   4

 
 
วิธีดีดพิณ

1.ผู้ดีดสามารถนั่งหรือยืนดีดก็ได้ ท่านั่งควรวางเต้าพิณหรือตัวพิณไว้บนขาขวา

     ( ถ้าถนัดซ้ายก็วางไว้ด้านซ้าย)

2.งอข้อศอกขวาเล็กน้อยแขนขวาวางบนขอบเต้าพิณ มือขวาที่ใช้ดีด จับปิ๊กด้วยนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้

   (  บางคนถนัดใช้นิ้วกลางแทนนิ้วชี้  )

3.เอียงคอพิณให้ทำมุมประมาณ   30 – 60  องศา      ดังรูป


 

                                                                     ภาพการจับพิณ 

4.ฝึกใช้ข้อมือเคลื่อนไหวจับปิ๊กดีดสายเปล่า  สาย  1  -  2  -  3 ขึ้นลง  สลับกันไป จากช้าค่อยๆ เร็วขึ้น

จนเกิดความคล่องตัว

5.มือซ้ายทำหน้าที่เคลื่อนย้ายไปตามตำแหน่งบนคอพิณ โดยใช้หัวแม่มือวางบนคอพิณนิ้วชี้  -  กลาง -  นาง  - ก้อย กดปลายนิ้วลงบนสายพิณ  การกดสายควรกดเบา ๆเหนือขั้นเสียงเล็กน้อยเพื่อเสียงจะไม่เพี้ยน

6.การดีดสายให้เสียงรัวคือการดีด ขึ้นลงสลับกันโดยใช้อัตราจังหวะเร็วที่สุด ( เคาะหนึ่งจังหวะให้ดีดสลับ

ขึ้นลงประมาณ  8 ครั้ง )

7.ตำแหน่งที่ดีดสายควรดีดสายบริเวณรูเสียง เพื่อให้เสียงกังวาน

8.การจับปิ๊กใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้จับ บางคนถนัดใช้นิ้วกลางแทนนิ้วชี้ ไม่ควรจับแน่นหรือเบาจนเกินไป

เพื่อไม่ให้ปิ๊กหลุดมือขณะดีด       

 

 

                                                          

   

ภาพการจับปิ๊กดีด

9.การดีดพิณตามโน้ตเพลงใช้วิธีการอ่านแบบเดียวกับโน้ตโปงลาง คือ 


สัญลักษณ์ดีดขึ้น     ↑     ดีดลง    ↓

* การดีดพิณ พอจะสรุปได้ว่า ดีดขึ้น จังหวะที่  1 และ 3 ดีดลงจังหวะที่ 2  และ 4 การดีดเสียงให้ชัดเจน

 ให้ใช้ปลายนิ้วกดให้ชิดด้านซ้ายขั้นพิณให้แน่น จึงดีดสายบริเวณรูเสียง   เสียงที่ได้จะดังชัดเจน

การฝึกดีดพิณเบื้องต้น 

       ฝึกดีดสายเปล่าสายที่  1   เสียง มี   บรรทัดที่  1  ( ขึ้น ลง ขึ้น ลง ) ,บรรทัดที่  2  ( ขึ้น - ขึ้น - ) บรรทัดที่  3 ( - ลง - ลง ) , บรรทัดที่  4 ( ขึ้น ลง  -  - ) 

ม  ม ม  ม

1  2  3  4

ม  ม ม  ม

1  2  3  4

ม  ม ม  ม

1  2  3  4

ม  ม ม  ม

1  2  3  4

ม  ม ม  ม

1  2  3  4

ม  ม ม  ม

1  2  3  4

ม  ม ม  ม

1  2  3  4

ม  ม ม  ม

1  2  3  4

 ม  -  ม  -

 1  -  3  -

 ม  -  ม  -

 1  -  3  -

 ม  -  ม  -

 1  -  3  -

 ม  -  ม  -

 1  -  3  -

 ม  -  ม  -

 1  -  3  -

 ม  -  ม  -

 1  -  3  -

 ม  -  ม  -

 1  -  3  -

 ม  -  ม  -

 1  -  3  -

-  ม  -  ม

 - 2   -  4

-  ม  -  ม

 - 2   -  4

-  ม  -  ม

 - 2   -  4

-  ม  -  ม

 - 2   -  4

-  ม  -  ม

 - 2   -  4

-  ม  -  ม

 - 2   -  4

-  ม  -  ม

 - 2   -  4

-  ม  -  ม

 - 2   -  4

ม  ม  -  -

1  2  -  -

ม  ม  -  -

1  2  -  -

ม  ม  -  -

1  2  -  -

ม  ม  -  -

1  2  -  -

ม  ม  -  -

1  2  -  -

ม  ม  -  -

1  2  -  -

ม  ม  -  -

1  2  -  -

ม  ม  -  -

1  2  -  -


*    เครื่องหมาย   -   ไม่ต้องดีด แต่ให้นับ หนึ่งจังหวะ หรือเคาะหนึ่งครั้งในใจ


ฝึกดีดสายเปล่าสายที่  2   เสียง   ลา 


ล  ล  ล ล

1  2  3  4

ล  ล  ล ล

1  2  3  4

ล  ล  ล ล

1  2  3  4

ล  ล  ล ล

1  2  3  4

ล  ล  ล ล

1  2  3  4

ล  ล  ล ล

1  2  3  4

ล  ล  ล ล

1  2  3  4

ล  ล  ล ล

1  2  3  4

 ล  -  ล  -

 1  -  3  -

 ล  -  ล  -

 1  -  3  -

 ล  -  ล  -

 1  -  3  -

 ล  -  ล  -

 1  -  3  -

 ล  -  ล  -

 1  -  3  -

 ล  -  ล  -

 1  -  3  -

 ล  -  ล  -

 1  -  3  -

 ล  -  ล  -

 1  -  3  -

-  ล  -  ล

 - 2   -  4

-  ล  -  ล

 - 2   -  4

-  ล  -  ล

 - 2   -  4

-  ล  -  ล

 - 2   -  4

-  ล  -  ล

 - 2   -  4

-  ล  -  ล

 - 2   -  4

-  ล  -  ล

 - 2   -  4

-  ล  -  ล

 - 2   -  4

ล  ล  -  -

1  2  -  -

ล  ล  -  -

1  2  -  -

ล  ล  -  -

1  2  -  -

ล  ล  -  -

1  2  -  -

ล  ล  -  -

1  2  -  -

ล  ล  -  -

1  2  -  -

ล  ล  -  -

1  2  -  -

ล  ล  -  -

1  2  -  -


ฝึกดีดสายเปล่าสายที่  3   เสียง  มี

↑ ↓ ↑↓

ม  ม ม  ม

↑ ↓ ↑↓

ม  ม ม  ม

↑ ↓ ↑↓

ม  ม ม  ม

↑ ↓ ↑↓

ม  ม ม  ม

↑ ↓ ↑↓

ม  ม ม  ม

↑ ↓ ↑↓

ม  ม ม  ม

↑ ↓ ↑↓

ม  ม ม  ม

↑ ↓ ↑↓

ม  ม ม  ม

 ↑   ↑

 ม  -  ม  -

 ↑   ↑

 ม  -  ม  -

 ↑   ↑

 ม  -  ม  -

 ↑   ↑

 ม  -  ม  -

 ↑   ↑

 ม  -  ม  -

 ↑   ↑

 ม  -  ม  -

 ↑   ↑

 ม  -  ม  -

 ↑   ↑

 ม  -  ม  -

 ↓    ↓

- ม  -  ม

 ↓    ↓

- ม  -  ม

 ↓    ↓

- ม  -  ม

 ↓    ↓

- ม  -  ม

 ↓    ↓

- ม  -  ม

 ↓    ↓

- ม  -  ม

 ↓    ↓

- ม  -  ม

 ↓    ↓

- ม  -  ม

↑ ↓

ม  ม  -  -

↑ ↓

ม  ม  -  -

↑ ↓

ม  ม  -  -

↑ ↓

ม  ม  -  -

↑ ↓

ม  ม  -  -

↑ ↓

ม  ม  -  -

↑ ↓

ม  ม  -  -

↑ ↓

ม  ม  -  -

 

*  เมื่อฝึกดีดสายเปล่าทั้ง  3  สาย ตามโน้ตจนคล่องแล้วก็ฝึกดีดสลับสาย  1 และ  2  ดังนี้

 ↓    ↓

- ล  -  ม

 ↓    ↓

- ล  -  ม

 ↓    ↓

- ล  -  ม

 ↓    ↓

- ล  -  ม

 ↓    ↓

- ล  -  ม

 ↓    ↓

- ล  -  ม

 ↓    ↓

- ล  -  ม

 ↓    ↓

- ล  -  ม

* ข้อสังเกต คือ   การดีดตามโน้ตสาย 1 และ 2 จะดีดลง

 

ฝึกดีดสลับสาย  และ  3  ดังนี้

                         สายเปล่า 2   เสียง   ลา       สายเปล่า 3  เสียง   มี

  ↓    ↓

- ล  -  ม

 ↓   ↓

- ล  -  ม

 ↓   ↓

- ล  -  ม

 ↓   ↓

- ล  -  ม

 ↓   ↓

- ล  -  ม

 ↓   ↓

- ล  -  ม

 ↓   ↓

- ล  -  ม

 ↓   ↓

- ล  -  ม


*  ข้อสังเกต คือ   การดีดตามโน้ตสาย 2 และ 3 จะดีดลง



 

การดีดสลับขึ้นลง      3  ตัวโน้ต

     เป็นการดีดสลับสายเปล่า 1 ( เสียง  ม  )  ดีดลง และสายเปล่า 2  ( เสียง   ล  )  ดีดขึ้น

เมื่อฝึกจนคล่องแล้วผู้ฝึกสามารถใช้กับโน้ตอื่นได้ และอย่าลืมเคาะจังหวะที่ 4 ของห้อง


  ↓ ↑ ↓

- ม  ล  ม

  ↓ ↑ ↓

- ม  ล  ม

 ↓ ↑ ↓

- ม  ล  ม

 ↓ ↑ ↓

- ม  ล  ม

 ↓ ↑ ↓

- ม  ล  ม

 ↓ ↑ ↓

- ม  ล  ม

 ↓ ↑ ↓

- ม  ล  ม

 ↓ ↑ ↓

- ม  ล  ม



การดีดสลับขึ้นลง      4  ตัวโน้ต

เป็นการดีดสลับสายเปล่า 1 ( เสียง  ม  )   และสายเปล่า 2  ( เสียง   ล  ) 

เมื่อฝึกจนคล่องแล้วผู้ฝึกสามารถใช้กับโน้ตอื่นได้ และอย่าลืมเคาะจังหวะที่ 4 ของห้อง

↑ ↓↑ ↓

ม  ม ล  ม

↑ ↓↑ ↓

ม  ม ล  ม

↑ ↓↑ ↓

ม  ม ล  ม

↑ ↓↑ ↓

ม  ม ล  ม

↑ ↓↑ ↓

ม  ม ล  ม

↑ ↓↑ ↓

ม  ม ล  ม

↑ ↓↑ ↓

ม  ม ล  ม

↑ ↓↑ ↓

ม  ม ล  ม


                 *   สัญลักษณ์         ดีดขึ้น     ↑                  ดีดลง   ↓

การดีดรัว      เพื่อให้เกิดเสียงหวาน

เป็นการดีดสลับขึ้นลง ให้มีความถี่หรือเร็วที่สุด โดยดีดลงก่อนเสมอ

    ตามโน้ต  ดีดสายเปล่า 1 ( เสียง  ม  )

        ↓

-  -  -    ม

 

-  -  -  -

        ↓

-  -  -    ม

 

-  -  -  -

        ↓

-  -  -    ม

 

-  -  -  -

        ↓

-  -  -    ม

 

-  -  -  -

ตามโน้ต  ดีดสายเปล่า 2 ( เสียง  ล  )

       ↓

-  -  -    ล

 

-  -  -  -

        ↓

-  -  -    ล

 

-  -  -  -

        ↓

-  -  -    ล

 

-  -  -  -

       ↓

-  -  -    ล

 

-  -  -  -


ตามโน้ต  ดีดสายเปล่า 3 ( เสียง  ม  )

        ↓

-  -  -    ม

 

-  -  -  -

        ↓

-  -  -    ม

 

-  -  -  -

        ↓

-  -  -    ม

 

-  -  -  -

        ↓

-  -  -    ม

 

-  -  -  -


เมื่อฝึกดีดตามโน้ตจนคล่องแล้ว  ต่อไปให้ฝึกไล่เสียงจากสายบน( สาย 2 )ลงสายล่าง ( สาย 1 ) และสายล่างขึ้นสายบนตามโน้ต ดีดขึ้นลงตามสัญลักษณ์  ดังนี้

↑ ↓ ↑↓

ด  ร  ม  ฟ

↑ ↓ ↑↓

 ซ ล ท ด°

↑ ↓ ↑↓ด° ท ล ซ

↑ ↓ ↑↓

 ฟ ม  ร ด

↑ ↓ ↑↓

ด  ร  ม  ฟ

↑ ↓ ↑↓

ซ ล ท ด°

↑ ↓ ↑↓

ด° ท ล ซ

↑ ↓ ↑↓

ฟ  ม  ร ด






คอร์ดพิณ ( ลายใหญ่ )

                                     C                       1


















         Am          3                      2                   1

















       F           3                      2                   1                            

















   

Dm            3                      2                   1                         

















    

 

Gm           3                       2                   1                      

















    Bb          3                      2                   1

















     G           3                       2                   1                      

















    Em           3                       2                   1                      

















 







คอร์ดพิณ ( ลายน้อย )

         F            3             2             1

















    Dm          3                        2             1

















                 Gm          3                      2            1

















   C            3                     2            1

















                     Em        2             1

















 


Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 61,042 Today: 14 PageView/Month: 1,349

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...