คณะศิลปศึกษา http://musicesan.siam2web.com/

ชื่อ(ภาษาไทย)   นายทรงศักดิ์       นามสกุล     ประทุมสินธุ์

ชื่อ(ภาษาอังกฤษ)   Songsak   pratoomsin

เสนอเป็นศิลปินแห่งชาติ  สาขาศิลปะการแสดง

ดนตรีไทย  ด้าน  การบรรเลงและการผลิตเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน

๑.  ประวัติชีวิตส่วนตัว 

๑.๑  เกี่ยวกับศิลปิน

นายทรงศักดิ์   ประทุมสินธุ์   เกิดวันที่  ๓  ธันวาคม    พุทธศักราช    ๒๔๙๘

สถานที่เกิด   บ้านเลขที่  ๑  หมู่  ๒    ตำบลหนองพอก   อำเภอหนองพอก   จังหวัดร้อยเอ็ด

ที่อยู่  บ้านเลขที่  ๓๒  หมู่  ๒  ตำบลหนองพอก  อำเภอหนองพอก  จังหวัดร้อยเอ็ด

ที่ทำงาน  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ตำบลขามเรียง   อำเภอเมือง  จังหวัดมหาสารคาม

๑.๒ บิดามารดา

ชื่อบิดา   นายใส  นามสกุล   ประทุมสินธุ์         อาชีพ   ทำนา

ชื่อมารดา  นางกองสี  นามสกุล  ประทุมสินธุ์   อาชีพ  ทำนา  (ถึงแก่กรรมแล้ว)

เป็นบุตรคนที่  ๒  ในจำนวนพี่น้อง  ๘  คน  ได้แก่

๑. นายธงชัย           ประทุมสินธุ์ (ถึงแก่กรรมแล้ว)

๒. นายทรงศักดิ์     ประทุมสินธุ์  (ผู้เสนอเป็นศิลปินแห่งชาติ)

๓. นางคำจักร         กองสิงคูณ

๔. นางสาวสุคนธ์   ประทุมสินธุ์ (ถึงแก่กรรมล้ว)

๕. นายพูนผล         ประทุมสินธุ์

๖. นางปิยรัตน์        เผือกทับ

๗. นางทัศนี            พูนขุนทด

๘. นางกาญจนา       ประทุมสินธุ์

 ๑.๓  ครอบครัว

สมรสกับ  นางดุษฏี  ประทุมสินธุ์    อาชีพ  ทำนา

มีบุตร  รวม  ๒  คน   ได้แก่

๑. นายชัชวาลย์   ประทุมสินธุ์  อาชีพ   รับราชการครู

๒. นายชาญยุทธ  ประทุมสินธุ์    อาชีพ   นักศึกษา

 

 

 

 

 

๒.  ประวัติการศึกษา

พ.ศ.  2509  จบ ชั้นประถมศึกษาปีที่  4   โรงเรียนบ้านหนองพอก  อำเภอหนองพอก

จังหวัดร้อยเอ็ด

พ.ศ.   2535  จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่    6   ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน  อำเภอเมือง   จังหวัดร้อยเอ็ด

พ.ศ.  2548   เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์  สาขาดนตรี   มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

นายทรงศักดิ์  ประทุมสินธุ์  ได้เรียนรู้ศิลปะการแสดงพื้นบ้านจากผู้เป็นบิดา  คือ  นายใส  ประทุมสินธุ์

๓.  ประวัติการทำงาน

นายทรงศักดิ์  ประทุมสินธุ์  เกิดในตระกูล  ชาวนาในชนบท  ที่บ้านหนองพอก

อำเภอหนอง  จังหวัดร้อยเอ็ดในวัยเด็กนายทรงศักดิ์  ประทุมสินธุ์  เป็นผู้ที่มีความวิริยะอุตสาหะในการทำงานเป็นอย่างยิ่ง  ช่วยบิดามารดาและสมาชิกในครอบครัว  ทำงานในไร่นาด้วยความขยันขันแข็ง  ครอบครัวนายทรงศักดิ์  ประทุมสินธุ์  เป็นครอบครัวชาวชนบทที่มีความแตกต่างจากชาวนาทั่ว ๆ  ไป คือเป็น ครอบครัวชาวนาที่มีดนตรีในหัวใจ  เป็นครอบครัวที่รักการเล่นดนตรี  ละสืบสานดนตรีต่อกัมาตั้งแต่บรรพชน  ในสายตระกูลจึงมีเครื่องดนตรีอีสาน  ประเภท  พิณ  แคน  โปงลาง (หมากเติดเติ่ง)และโหวดอยู่ติดบ้านเสมอ  ฉะนั้นในตอนเย็นครอบครัวในระแวงนั้นก็จะพากันเล่น ดนตรี  และเพลงที่เล่นในสมัยนั้นจะนิยมเล่นลายภู่ไทยเลาะตูบ  จะเล่นกันจนดึกดังนั้น  นายทรงศักดิ์  ประทุมสินธุ์  จึงได้สัมผัสกับเสียงดนตรีตั้งแต่เกิดเลยก็ว่าได้  ดังนั้นความรู้สึกรักชอบแห่งเสียงทิพย์แห่งดนตรีก็บังเกิดขึ้นในจิตใจ  นายทรงศักดิ์  จะเล่นโปงลางเป็นมาตั้งแต่เด็ก  เพราะเขาเป็นคนติดยาย  เพราะยายเลียงมาตลอด  และที่สำคัญยายเป็นคนเล่นโปงลางที่มือฉมังผู้หนึ่ง ต่อจากการเล่นโปงลางนายทรงศักดิ์  ก็หันไปเล่นแคนเมื่ออายุ  8 -  14  ปี  แต่มาหัดเอาจริงจังก็เมื่อ  อายุได้  15  ปี  โดยเริ่มฝึกเครื่องดนตรีพื้นบ้านทุกชนิดกับบิดาและไปฝึกต่อกับครูแสนจนสามารถ ออกเดินสายเล่นดนตรีกับวงหมอลำเพลิน  คณะหนองคายน้อยพัฒนา   อำเภอหนองพอก  จังหวัดร้อยเอ็ด  โดยเล่นเป็นมือสอง  รองจากครูแสน  ต่อมาเมื่อครูแสนเสียชีวิตลงก่อนจะสิ้นครูแสนได้  มอบ  พิณ และกีตาร์ให้โดยสั่งไว้ว่าให้พยายามเล่นให้ดีที่สุด  ดังนั้นตนจึงมีโอกาสได้เล่นเป็นมือหนึ่งจนต่อมาวงหมอลำเริ่มไม่มีงานก็ทำให้ฝืดเคือง

ดังนั้นนายทรงศักดิ์  ประทุมสินธุ์  จึงได้  ตัดสินใจออกจากวงและไปแสวงโชคที่กรุงเทพฯ  ไปทำงานที่โรงงานซีอิ้วทุ่งมหาเมฆ  เป็นเวลา  1  เดือน  จากนั้นลาออกไปทำงานส่งของวัสดุก่อสร้างได้เงินค่าจ้างเดือนละ  200  บาท ตนเองเห็นว่างานหนักเกินกำลังเพราะตัวเองตัวเล็กอยู่ได้หกเดือนก็ลาออกในขณะที่ทำงานอยู่นั้น เวลาว่างก็เอากระป๋องสีมาประดิษฐ์เป็นพิณดีดเล่นเป็นประจำประกอบกับในย่านนั้น เขามีการซ้อมดนตรีโดยมีนักดนตรีนักร้องที่เล่นที่ร้านไก่ย่างจีรพันธ์  จึงไปทำความรู้จักกับคณะนักร้อง  นักดนตรีเหล่านั้น    เขาถามว่าอยากเล่นดนตรีไหมเล่นอะไรได้บ้าง  บอกเขาไปว่าตีกลอง  ต่อมามีโอกาสได้เล่นกีตาร์ในขณะที่ไปส่งของโดยรถสามล้อปั่นไปส่งของที่บ้านครูพยงค์  มุกดา

เคยทราบว่าเป็นครูเพลงเอกจึงถือโอกาสร้องเพลงโชว์ตัวให้ครูพยงค์  มุกดาให้ทราบ  ครูพยงค์ก็ร้องถามว่า  “ เฮ้ย  หนูชอบร้องเพลงหรือ”  ข้าพเจ้า ตอบว่า “ ครับ”  ท่านถามต่อไปว่า  “อยากเป็นนักร้องไหม”  ข้าพเจ้าตอบว่า  “ อยากครับ”  หลังจากลาออกจากงานส่งวัสดุก็ไม่มีโอกาสติดต่ออีกเลย

ต่อมาไปทำงานที่ไร่อ้อยบ้านบึง  จังหวัดชลบุรี  ประมาณ  1  ปี  เงินค่าจ้างเดือนละ  300  บาท  เป็นหัวหน้าคนงานไร่อ้อยอีกตำแหน่งหนึ่ง  มีโอกาสใช้เวลาว่างเล่นพิณ  ด้วยความอยากแสวงหางานใหม่จึงลาออกจากงานไร่อ้อยไปทำงานลงเรือหาปลาที่จังหวัดระยองประมาณ  1  จึงกลับเข้ากรุงเทพฯ  อีกครั้ง โดยมุ่งหน้าไปที่ซอยบุพผาสวรรค์  เพื่อสมัครเป็นนักร้องในวงดนตรี  แต่ไม่ประสบความสำเร็จ  จึงหันเหชีวิตไปเป็นนักมวย  และขายอุปกรณ์กีฬา  แถวเทเวศว์  เงินค่าจ้างเดือนละ  250  บาท  ทำงานได้ประมาณ  5  เดือนจึงลาออกจากงานตั้งใจจะกลับบ้าน  ตั้งใจจะไปทำนาเล่นดนตรีเป็นหนทางสุดท้าย  แต่ยังไม่กลับบ้านก็ยังไปสมัครงานโรงงานถ่านไฟฉายบางขุนเทียน  วันหนึ่งขณะที่ไปตัดผม  มีโอกาสได้พบกับนักร้องในสังกัดของ  ก้อง  กาจกำแหง  หรือก้องนภา  ลูกทน  เป็นชาวจังหวัดยโสธร  เลยหาทางตีสนิทจนมีโอกาสเข้าวงด้วย   ออกแสดงกับวงเวลาว่างก็ทำพิณด้วยกระป๋องขึ้นมาดีดีเล่นเป็นประจำ  ไม่เคยว่างเว้น

วันหนึ่งเสมือนว่าฟ้าบันดาลเพื่อนบอกว่าแม่คิดถึง  ให้กลับบ้านไปตั้งวงดนตรีขึ้นเอง  น่าจะพอ

อยู่ได้เมื่อเพื่อนบอกว่าแม่คิดถึง  ด้วยความรักและกตัญญูโดยสัญชาตญาน  จึงได้กลับบ้านที่

อำเภอหนองพอก  จังหวัดร้อยเอ็ดไปเล่นรำวง  เป็นมือกลองร้องเพลงเชียร์รำวง  จากนั้นไปเข้าคณะ

หมอลำคณะหนองแคนน้อยพัฒนา  อีกครั้ง  เล่นพิณบ้างเป่าแคนบ้าง  ขณะเดียวกันก็เล่นให้กับคณะ

ส. อีสานศิลป์  บ้านโคกนาคำ  อำเภอหนองพอก  จังหวัดร้อยเอ็ด  ในระหว่างที่อยู่กับหมอลำได้

ปรับปรุงพัฒนาตัวเองให้สามารถเล่นดนตรีได้ทุกชนิด  และที่สนใจเป็นพิเศษคือ  โหวด  มีความ

เชี่ยวชาญเรื่องโหวดทั้งการผลิต  และการบรรเลง  จนได้สมญานามจากคนทั่วไปว่า

“ ขุนพลโหวด แห่งดงแม่เผต”

พ.ศ.  2523 – 2545    ผู้เชี่ยวชาญการสอนดนตรีพื้นบ้าน  วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด

พ.ศ.  2546 ถึง ปัจจุบัน  ผู้เชี่ยวชาญดนตรีพื้นบ้าน(โหวด)   มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

๔.  ประวัติการสร้างสรรค์ผลงาน  มีรายละเอียดดังนี้

โดยธรรมชาติท่านว่า “ ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น”  เมื่อเกิดมารู้ก็ได้รับการซึมซับเกี่ยวกับดนตรีพื้นบ้านอีสานแล้ว  กล่าวคือคุณพ่อเคยเล่น  โปงลาง  ดีดพิณ  เป่าแคน (เป่าแคนกับหมอลำผีฟ้า) ซึ่งยายเป็นหมอลำผีฟ้า  จึงมีการเล่นสืบทอดต่อกันมาทางสายเลือด  ทั้งทางคุณพ่อและคุณแม่  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเล่นโปงลาง   ลูกหลานในตระกูลจะสามารถเล่นได้ทุกคนทั้งชายและหญิง

ด้วยเหตุผลดังกล่าวนั้น  นายทรงศักดิ์  ประทุมสินธุ์  จึงมีโอกาสซึมซับด้านดนตรี  และด้านหมอลำมาตั้งแต่กำเนิด  เมื่อโตขึ้นจึงได้มีการฝึกเครื่องดนตรีทุกประเภท

การดีดพิณ  ได้ศึกษาจากสภาพแวดล้อม  คือการรับรู้จากพ่อ จากพี่ๆ โดยการดีดลงอย่างเดียว  ต่อมาได้รับการเรียนรู้ครูแสน  ให้ดีดขึ้นดีดลง  เพียงเท่านี้ก็สามารถเล่นพิณได้เป็นอย่างดีแล้ว

การเป่าแคน  ได้อาศัยประสบการณ์จาก  หมอแคนลำผีฟ้า  และจากรุ่นพี่ ๆ  จากพ่อเป็นส่วนใหญ่และความอยากรู้อยากเห็นมากที่สุด

การตีโปงลาง  ได้จากการสังเกตจาก พ่อ แม่ พี่น้อง  และญาติๆ การเป่าโหวดได้ศึกษาจากรุ่นพี่เรื่อยมาตั้งแต่เด็กๆ  อยู่จนกระทั่งเป็นผู้เป่า  และผู้ผลิตเอง  การเป่าโหวดอาศัยลายเพลงโบราณมาออกแบบประดิษฐ์ลายเพลงใหม่ให้เกิดความไพเราะนิ่มนวล  แปลก  พิสดาร  ยิ่งขึ้นกว่าที่เคยเป่ากันมาจากบรรพบุรุษอีสาน  เมื่อมีการเล่นมาก ๆ  บ่อย ๆ  จึงเกิดความรู้ความคิดที่จะสร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆขึ้นมาใช้เอง  เช่น พิณก็เสริมใส่ให้มีหัวนาค  ติดคอนแท็กขยายเสียง  ทำพิณโปร่ง พิณไฟฟ้า  ทำพิณให้เป็นพิณเบสไฟฟ้า  เป็นต้น

การสร้างวงดนตรี

นายทรงศักดิ์  ประทุมสินธุ์  ได้นำเอาโหวดซึ่งเคยแกว่งเล่นในท้องนามาเป่าเป็นเพลงเพื่อเกี้ยวสาว  และแอ่วสาวลงข่วง ต่อมานำมาเล่นกับพิณ แคน  และโปงลาง  ต่อมาก็มีการตั้งวงดนตรีเล็ก ๆ  ในหมู่บ้านโดยการรวมญาติพี่น้องในตระกูล

ปี พ.ศ. 2511  นายทรงศักดิ์  ประทุมสินธุ์  ได้ตั้งวงดนตรีขึ้น  โดยได้นำเอาโหวดเข้ามาใช้ในวงดนตรีพื้นบ้านร่วมกับ  แคน  พิณ  และโปงลาง

ปี  พ.ศ.  2516 -  2519  วงโหวดของนายทรงศักดิ์  ประทุมสินธุ์  ได้รับความนิยมมากในระแวกใกล้เคียงและวงเริ่มเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนได้รับการสนับสนุนจากทางอำเภอให้เข้าร่วมโครงการพบปะประชาชน  กับทางราชการและได้ออกนำเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์  ช่อง  5  ขอนแก่นในสมัยนั้น

ดังนั้นวงโหวดของนายทรงศักดิ์  ประทุมสินธุ์  จึงเริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้างขึ้นเป็นที่คุ้นเคยของประชาชน ด้วยวงนี้ใช้โหวดเป็นเครื่องดนตรีนำในการแสดง  ดังนั้น  นายถนอม  ส่งเสริม  นายอำเภอหนองพอกในสมัยนั้นจึงด้ตั้งช

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 62,393 Today: 24 PageView/Month: 1,740

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...