คณะศิลปศึกษา http://musicesan.siam2web.com/


การอ่านโน้ต


                                   การฝึกเรียนดนตรีพื้นบ้านอีสาน นอกจากฝึกการฟังแล้ว  ผู้ฝึกจำเป็นต้องศึกษาโน้ตดนตรีพื้นบ้าน      เพื่อง่ายต่อการฝึกหัดเบื้องต้นและการบรรเลงเพลงในกรณีที่จำเพลงนั้นไม่ได้    เพราะปัจจุบันมีเพลงจำนวนมาก    สำหรับการอ่านโน้ตดนตรีพื้นบ้านใช้หลักการอ่านแบบโน้ตเพลงไทยเดิม หรือโน้ตไทย ซึ่งมีโครงสร้างดังนี้

                                            1.ห้องเพลง

                                       2.จังหวะ

                                       3.ตัวโน้ต

ห้องเพลง

                                ใน    1  บรรทัด     กำหนดให้มี    8  ห้อง    คือ

             1

2

3

4

5

6

7

8


จังหวะ

ในแต่ละห้องเพลงจะมีจังหวะคงที่  4  จังหวะ  

จังหวะเคาะ    เครื่องหมาย     V       คือ เคาะจังหวะที่ 4 (จังหวะตก)  ใช้เครื่องหมาย  -   แทน  1  จังหวะ

        V          V          V          V         V           V          V          V

-   -   -   -1  2  3  4

-   -   -   -1  2  3  4

-   -   -   -1  2  3  4

-   -   -   -1  2  3  4

-   -   -   -1  2  3  4

-   -   -   -1  2  3  4

-   -   -   -1  2  3  4

-   -   -   -1  2  3  4


*     V  หมายถึง การเคาะเท้า  หนึ่งครั้ง หรือ การตบมือหนึ่งครั้ง เท่ากับ หนึ่งจังหวะ

 
 

     โน้ตเพลงไทยมี    7  เสียง คือ     โด  เร  มี  ฟา  ซอล  ลา  ที

อักษรย่อภาษาอังกฤษ                        C        D       E       F       G        A      B

ตรงกับชื่อของตัวโน้ตดังนี้                โด         เร         มี          ฟา      ซอล        ลา       ที

ใช้อักษรย่อแทนชื่อตัวโน้ต                 ด          ร          ม         ฟ          ซ           ล         ท

สัญลักษณ์ทางดนตรี
1.เครื่องหมายระดับเสียง       °      เช่น         ม°   หมายถึง     เสียงมีสูง ถ้า    . อยู่ข้างล่างตัวโน้ต     เช่น             มฺ   หมายถึง     เสียงมีต่ำ

2.เครื่องหมายย้อนกลับ       (:         :)    หมายถึง   บรรเลงซ้ำ  1 รอบ

3.เครื่องหมาย     -      ใช้แทนจังหวะในห้องเพลงที่ไม่มีตัวโน้ต   หมายถึง   เว้นไว้ ไม่ต้องบรรเลง

 
การฝึกนับหรือเคาะจังหวะ

      การนับหรือเคาะจังหวะให้เคาะหรือตบมือที่จังหวะที่  4 ( V ) ของห้องเพลง ถ้าห้องเพลงใดในจังหวะที่ 4  ไม่มีตัวโน้ตหรือมีเครื่องหมาย   -  ก็ต้องเคาะจังหวะโดยไม่ต้องร้องโน้ตหรือบรรเลง


        V          V          V          V          V          V          V          V

1  2  3  4

1  2  3  4

1  2  3  4

1  2  3  4

1  2  3  4

1  2  3  4

1  2  3  4

1  2  3  4

1  2  -  -

1  2  -  -

1  2  -  -

1  2  -  -

1  -  3  -

1  -  3  -

1  -  3  -

1  -  3  -

 - 2  -  4

- 2  -  4  -

- 2  -  4

- 2  -  4

- 2  3  4

- 2  3  4

- 2  3  4

- 2  3  4

1  2  -  -

1  2  -  -

1  -  3  -

1  -  3  -

- 2  3  4

- 2  3  4

- 2  3  4

- 2  3  4

1  2  -  -

1  2  -  -

1  2  3  -

1  2  3  -

- 2  3  4

- 2  3  4

1 2  3  4

1 2  3  4

 

     ดนตรีไทยในอดีตมักใช้วิธีจดจำคำร้องหรือทำนองของเพลง  ไม่ได้มีการบันทึกเป็นตัวโน้ตไว้เหมือนปัจจุบัน  ดังนั้นจึงเป็นที่น่าเสียดายที่เพลงไทยในอดีตบางเพลงอาจสูญหายหรือผิดเพี้ยนไปตามกาลเวลา

    การบันทึกเพลงไทยเริ่มมีขึ้นประมาณ ปี  พ.ศ. 2456   โดยหลวงประดิษฐ์ไพเราะ ( ศร  ศิลปบรรเลง )เป็นผู้คิดเครื่องหมายแทนเสียงดนตรีขึ้นเป็นครั้งแรกโดยใช้ตัวเลขตั้งแต่   1 – 9  แทนนิ้วที่ใช้กดลงในเครื่องดนตรี

ประเภทเครื่องสาย   ต่อมาได้ดัดแปลงให้สะดวกในการอ่านยิ่งขึ้นโดยใช้ตัวเลข  ตั้งแต่  0  - 4 แทนนิ้วที่กดลงสายแต่ละนิ้ว   เช่น    โน้ตซอด้วง    ซออู้

     0           คือ        สายเปล่า ( ไม่ต้องกด )

     1           คือ         กดนิ้วชี้

     2           คือ         กดนิ้วกลาง

     3           คือ         กดนิ้วนาง

     4           คือ         กดนิ้วก้อย

       การใช้โน้ตตัวเลขไม่สามารถใช้กับเครื่องดนตรีได้ทุกชนิด  ทำให้ไม่สะดวกในการบันทึกและการบรรเลงเมื่อมีการเผยแพร่วิชาการดนตรีสากลเป็นที่นิยมแก่คนไทย โดยพระเจนดุริยางค์ เป็นผู้เรียบเรียงหนังสือ

“ แบบเรียนดุริยางค์ศาสตร์สากล ” โดยกระทรวงศึกษาธิการ ใช้เป็นแบบเรียนในการศึกษาของนักเรียนตั้งแต่  ปี พ.ศ. 2475    จึงมีการคิดค้นเขียนโน้ตแบบไทย เลียนเสียงสากล  โด   เร   มี  ฟา  ซอล  ลา  ที

โดยใช้อักษรย่อ  ด  ร  ม  ฟ  ซ  ล  ท   หรือเรียกสั้น ๆว่า โน้ต  ดรมฟ   ( อ่านว่า ดอรอมอฟอ )

       โน้ตตัวอักษรในปัจจุบันจึงเป็นที่นิยมใช้สำหรับบันทึกบทเพลงไทยหรือแม้กระทั่งเพลงพื้นบ้านภาคต่าง ๆ ของไทย เพราะสามารถนำไปใช้กับเครื่องดนตรีไทยทุกประเภท   รวมถึงดนตรีพื้นบ้านอีสานที่มีลายทำนองที่มีความไพเราะจำนวนมาก  จึงเป็นเรื่องน่าดีใจที่บทเพลงหรือลายดนตรีพื้นบ้านอีสานคงไม่มีวันสูญหายอย่างแน่นอนถ้ามีการบันทึกโน้ตเก็บไว้


Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 61,584 Today: 41 PageView/Month: 611

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...