คณะศิลปศึกษา http://musicesan.siam2web.com/

แคน 

                 แคนเป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานประเภทเครื่องเป่าที่มีลิ้น  เหตุที่เรียกชื่อว่า “แคน” ท่านผู้รู้หลายท่าน ต่างให้ความคิดเห็นว่าอาจเป็นเพราะเสียงดังออกมาจากการเป่าคือ“ แคนแล่นแคนแล่นแคน แล่นแคน “ แต่จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีมีการขุดค้นซากแคนในชั้นหินอายุมากกว่า  2,000  ปี ในมณฑลยูนนานของจีนแผ่นดินใหญ่  ( เจริญชัย  ชนไพโรจน์ 2528:41)

ปี 2467 นักค้นคว้าชาวฝรั่งเศส ได้ขุดค้นพบขวานสัมฤทธิ์ อายุประมาณ  3,000  ปีจำหลักรูปคนเป่าแคนน้ำเต้าไว้บนขวานนั้นที่เมืองดองซอน (Dong  son) ริมแม่น้ำซองมา จังหวัดถั่นหัว (Thann  Hah) ของเวียดนาม

( สุจิตต์  วงษ์เทศ 2530:16 -18) รวมทั้งหลักฐานจากมโหระทึกโบราณ ที่เมืองดองซอนมีภาพคนเป่าแคน

ซึ่งบริเวณที่ขุดค้นพบแคนนั้นจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดียืนยันว่าเคยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนชาติไทย – ลาว มาก่อน

                  ชนเผ่าตระกูลไทย-ลาว ในปัจจุบันนี้นอกจากจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทยและประเทศลาวแล้วยังมีอยู่ที่ภาคเหนือของประเทศเวียดนาม อยู่ในรัฐฉานของประเทศพม่า อยู่ในแคว้นอาหมของประเทศอินเดีย และอยู่ในภาคใต้กับภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีนด้วย (สุจิตต์  วงษ์เทศ 2530)

                 ดังนั้นถือได้ว่าแคนเป็นเครื่องดนตรีประเภทเล่นทำนองที่เก่าแก่มากชนิดหนึ่งของโลกและเป็นต้นแบบของเครื่องดนตรีสากลประเภทลิ่มนิ้วคือออร์แกนซึ่งมีมายาวนานกว่า 2,000  ปี

(อุทิศ  นาคสวัสดิ์ 2512: 161 และ Isaac’s  and  Martin 1982 :277 )

                ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์(พ.ศ. 2393 – 2453) การเล่นแคนซึ่งมีชื่อเรียกในสมัยนั้นว่าการเล่น”ลาวแคน” เป็นที่นิยมเล่นกันในประเทศไทยอย่างกว้างขวาง เพราะพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว(พระราชอนุชา) ทรงโปรดการเล่นแคนและการละเล่นแอ่วลาวมาก จนถึงกับได้ทรงพระราชนิพนธ์บทแอ่วลาว(หมอลำเรื่อง)เรื่อง”นิทานนายคำสอน”ขึ้น ที่พระองค์ทรงมีความสามารถเช่นนั้น อาจเป็นเพราะมีเจ้าจอมจากสระบุรีและนครราชสีมาหลายคนและหลายรุ่นทำให้วังหน้าของพระองค์มีผู้คนเป็นชาวลาวจากหัวเมืองลาวเป็นจำนานมาก

                เมื่อวังหน้าทรงโปรดการเล่นแอ่วลาวเช่นนั้น พลอยทำให้วังอื่นนิยมเล่นตาม หลักฐานจากบันทึกประจำวันของเซอร์  จอห์น  เบาริง (Sir John Bowring)นักภาษาศาสตร์และรัฐบุรุษชาวอังกฤษ ผู้ซึ่งพระนางวิคตอเรีย(Queen  Victoria)พระราชินีของประเทศอังกฤษ ส่งเข้ามาทำสัญญาทางพระราชไมตรีกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างปี ค.ศ. 1792-1872 บันทึกเกี่ยวกับการเล่นลาวแคนไว้ เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2398(ค.ศ. 1855)ว่า วังของกรมหลวงวงษาธิราชสนิท ซึ่งเป็นเจ้านายพระองค์หนึ่งก็นิยมเล่นลาวแคนเช่นกัน(อเนก นาวิกมูล2527:16 - 19)การที่เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ กระทั่งว่าสมเด็จพระราชอนุชาโปรดปรานการเล่นลาวแคนมากเช่นนั้น ทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นห่วงว่าแคนจะกลืนเอาศิลปะ

การดนตรีอื่นๆของไทยไปเสีย อีกหน่อยจะไม่มีผู้เล่นละครฟ้อนรำ ปี่พาทย์มโหรี เสภา สักวา เพลงเกี่ยวข้าวและอื่นๆเป็นแน่  อีกประการหนึ่งในสมัยนั้นไทยยังถือว่าดินแดนภาคอีสานเป็นเพียงหัวเมืองประเทศราช เรียกว่า

หัวเมืองลาว”โดยเรียกเป็นมณฑลลาวต่างๆเพิ่งยกเลิกการแบ่งภาคอีสานเป็นมณฑล ในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 นี้เอง(ศรีศักร  วัลลิโภดม 2534:271) แคนจึงถูกมองว่าเป็นเครื่องดนตรีของต่างชาติ

             พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเก็บความห่วงใยในเรื่องแคนนี้ไว้จนกระทั่งเมื่อพระอนุชา คือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ.2409 จึงทรงมีพระราชโองการให้ออกประกาศห้ามมิให้เล่น ลาวแคนหรือแอ่วลาว  ณ วันศุกร์ เดือน 12 แรม 14 ค่ำ ปีฉลู  จ.ศ. 1227 (พ.ศ. 2408)

(อเนก นาวิกมูล2527:17 - 19)

ตำนานเกี่ยวกับแคน

ตามตำนานที่เล่าสืบต่อกันมา

             นามมาแล้วพระราชาองค์หนึ่งเสด็จพร้อมด้วยข้าราชบริพารประภาสป่าล่าสัตว์วันหนึ่งขณะที่บรรทมหลับทรงสุบินว่ามีสิ่งของสิ่งหนึ่งตกลงมาจากฟากฟ้า  แต่พระองค์ก็ไม่ทราบว่าคืออะไรเมื่อพระองค์ตื่นบรรทมได้ยินเสียงไพเราะแว่วมาจากในป่าที่ไพเราะมากทรงเข้าใจว่าเป็นเสียงนกการะเวก จึงเสด็จพร้อมกับข้าราชบริพารตามเสียงนั้นไป เสียงนั้นดังชัดเจนขึ้นทุกที จนกระทั่งพระองค์แยกได้ว่า เสียงนั้นแบ่งออกเป็น 7 ระดับเสียง พอเสด็จเข้าไปใกล้ก็พลันประจักษ์ว่าเสียงนั้นมิใช่เสียงนกการะเวก  แต่เป็นเสียงน้ำตกซึ่งตกจากที่สูงลงมากระทบแอ่งหิน ที่อยู่ลดหลั่นกันลงมาเจ็ดชั้น  พระองค์รับสั่งให้ข้าราชบริพารตัดไม้อ้อในบริเวณนั้นเจ็ดลำ พร้อมกับทำลิ้นแล้วฝังลงไปในอ้อทุกลำ เมื่อเป่าได้เสียงทั้งเจ็ดระดับเสียง มีความไพเราะเหมือนกับ เสียงที่ได้ยินจากน้ำตก ไม้อ้อทั้งเจ็ดลำ  นั้นจึงนำมาประกอบกันเป็นเครื่องดนตรีเป็นครั้งแรกมีชื่อเรียกว่า “ แคน

 (จันทรเกษม,๒๕๓๓:๖๒ )

 ตำนานหญิงหม้ายกับแคน

               นายพรานเข้าไป ในป่าเพื่อหาล่าสัตว์ตามวิถีชีวิตของชาวบ้านได้เดินเข้าไปในป่าลึก และได้ยินเสียงที่มีความไพเราะมาก มีทั้งเสียงสูง เสียงต่ำ บ้างสลับกันไป  ได้เดินเข้าไปดูจึงรู้ว่าเป็นเสียงร้องของนกชนิดหนึ่ง เรียกว่า “นกการเวก” จากนั้นก็ได้เดินทางกลับบ้าน แล้วนำเรื่องที่ตนได้ยินมาเล่าให้ชาวบ้านฟัง และมีหญิงหม้ายคนหนึ่งพอได้ฟังแล้วเกิดความสนใจมาก เลยขอตามนายพราน เข้าไปในป่าเพื่อไปดูนกการเวก ว่ามีเสียงไพเราะจริงหรือไม่ ครั้นหญิงหม้ายได้ฟังเสียงนกการเวกร้องก็เกิดความไพเราะ  เมื่อกลับถึงบ้าน ได้คิดทำเครื่องดนตรีต่างๆ เช่น ดีด สี ตี เป่า หลายๆ อย่างก็ยังไม่มีเสียงดนตรีชนิดใดมีเสียงไพเราะเหมือนกับเสียงนกการเวก ในที่สุดนางก็ได้ไปตัดไม้ชนิดหนึ่ง เอามาประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นเครื่องเป่า รู้สึกว่าไพเราะมาก จึงพยายามดัดแปลง แก้ไขอีกหลายครั้ง จนไพเราะเหมือนเสียงร้องของนกการเวก ในที่สุด เมื่อแก้ไขแล้วลองเป่ารู้สึกไพเราะจับใจมาก ดั่งเสียงนกการเวก นางจึงคิดที่จะไปทูลเกล้าถวายพระเจ้าปเสนทิโกศล และฝึกหัดเป่าลายต่างๆจนเกิดความชำนาญจึงนำเครื่องดนตรีไปเข้าเฝ้าฯ ถวาย แล้วเป่าลายเพลงให้พระเจ้าปเสนทิโกศลฟัง เมื่อฟังเพลงจบแล้วพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมีความพึงพอใจมากที่มีเครื่องดนตรีประเภทนี้เกิดขี้นและทรงตั้งชื่อเครื่องดนตรีชนิดนี้ว่า “แคน” ด้วยเหตุนี้เครื่องดนตรีที่หญิงหม้ายที่ได้ประดิษฐ์ขึ้น จึงชื่อว่า “แคน” มา ตราบเท่าทุกวันนี้   แม้ไม่มีหลักฐานยืนยัน แต่มีเหตุผลสอดคล้องกันเพราะชื่อส่วนประกอบของแคนส่วนที่ใช้ปากเป่า   เรียกว่า  ” เต้าแคน “  มีลักษณะรูปร่างเป็นกระเปาะคล้าย  “ เต้านม “ ของสตรี นอกจากนี้ยังใช้คำลักษณะนามของแคนว่า “ เต้า “แทนคำว่า อันหรือชิ้น ดังนี้เป็นต้น ที่สำคัญคือเสียงแคนเป็นเสียงที่ไพเราะ 

ชนิดของแคน

             แคนมีจำนวนของลูกแคนหรือไม้กู่แคนมากน้อยแตกต่างกัน จึงพอจะจำแนกออกได้เป็น   4   ชนิด คือ1.แคนหก

   แคนหกมีจำนวนลูกแคน  6  ลำหรือไม้กู่แคน  3  คู่ คือด้านซ้าย 3 ลำ  ด้านขวา  3 ลำ แคนชนิดนี้เป็นแคนสำหรับเด็กเป่าเล่นเพราะมีเสียงไม่ครบ 7  เสียง

2.แคนเจ็ด

      แคนจ็ดมีจำนวนลูกแคน   14  ลำหรือไม้กู่แคน   7  คู่ มีเสียง  14  เสียง

3.แคนแปด

      แคนแปดเป็นแคนสำหรับเป่าประสานเสียงคลอไปกับการขับร้องหรือ “ ลำ “ระบบของแคนแปดมีเสียงทั้งหมด  16  เสียง  แต่มีเสียงที่ซ้ำกัน  2  เสียง  คือ ซอล  ฉะนั้นจึงมีเสียงที่มีระดับแตกต่างกันทั้งหมด  15  เสียง  เรียงลำดับจากต่ำไปสูง   ดังนี้  คือ  ลา  ที  โด  เร  มี  ฟา  ซอล  (ซอล) ลา  ที  โด  เร  มี   ฟา  ซอล   ลา    แต่เสียงทั้ง   16  เสียงนี้ไม่ได้เรียงลำดับอย่างเสียงโปงลางหรือระนาด  แต่เสียงเหล่านี้นำไปเรียงกันในลักษณะที่คล้ายคลึงกับการเรียงตัวอักษรของพิมพ์ดีด  ทั้งนี้คงเพื่อความสะดวก ในการบรรเลงลายพื้นบ้านนอกจากใช้แคนประกอบการลำแล้วแคนเเปดมีเสียงประสานที่ลงตัวจึงเป็นเครื่องดนตรีที่นิยมใช้บรรเลงในปัจจุบันกับวงดนตรีพื้นบ้านอีสานและวงดนตรีประเภทต่าง ๆ เช่น  วงลูกทุ่งหมอลำ   ,  วงดนตรีเพื่อชีวิต  เป็นต้น แคนแปดมีไม้กู่แคนหรือลูกแคน   8   คู่  16   ลำ มีเสียงทั้งหมด 16 เสียง

4.แคนเก้า 

       แคนเก้าเป็นแคนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และมีน้ำหนักมาก ใช้เป็นแคนเดี่ยวสำหรับเป่าประสานเสียงคลอไปกับการขับร้องหรือ “ ลำ “ เช่นเดียวกับแคนแปด มีไม้กู่แคนหรือลูกแคน  9  คู่ , 18   ลำ มีเสียงทั้งหมด 18 เสียง แคนเก้ามีเสียงทุ้มต่ำ  ในอดีตแคนเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบกิจกรรมต่างๆ คือ

1.ใช้บรรเลงประกอบการทรงเจ้าเข้าผีหรือการบวงสรวงเทพเจ้า  เช่น การลงผีฟ้า บางทีเรียกว่า “ ลงอ้อ “ หรือ

ลงข่วง

2.ใช้ประกอบการละเล่นชาวพื้นเมืองที่สืบเชื้อสายจากเขมร คือ  เจรียงกันตร้อปกัย และ เจรียงเบริน

3.ใช้ประกอบการเซิ้งบ้องไฟ

4.ใช้ประกอบการแสดงหมอลำ

5.ใช้ประกอบการรำซวยมือ

โอกาสที่เล่นและการผสมวง        แคนเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญที่สุดของชาวอีสาน  เพราะการบรรเลงดนตรีทุกอย่างของชาวอีสานจะต้องอิงแคนเป็นหลัก  ทำนองเพลงของเครื่องดนตรีต่าง  ๆ ล้วนยึดแบบอย่างของลายแคนทั้งสิ้น  ในสมัยโบราณพวกหนุ่มผู้นิยมเป่าแคนดีดพิณเดินไปคุยสาวตามบ้าน  ในงานบุญผะเหวด  พวกหนุ่มก็จะพากันเป่าแคน  ดีดพิณ  สีซอ  เลาะตามตูบหรือผาม  (ปะรำ)  พร้อมกับเกี้ยวสาวไปด้วยซึ่งเรียกว่า  “ลำเลาะตูบ”  แต่ในปัจจุบัน  ประเพณีเหล่านี้แทบสูญหายไปแล้ว  เหลือเพียงการบรรเลงประกอบลำและประกอบฟ้อนในงานที่มีการจ้างหาในรูปแบบต่างๆ

ส่วนประกอบของแคนแปด 

 

  



ภาพส่วนประกอบของแคน

1.ไม้กู่แคน(ลูกแคน) คือไม้สำหรับทำลูกแคน  กู่แคน หมายถึงไม้ส่วนที่เป็นท่อขยายเสียงแคน มีลักษณะเป็นข้อปล้องเปลือกบาง คล้ายไม้ซางแต่เปลือกแข็งแน่น ผิวละเอียดกว่า ช่างแคนจะเจาะทะลุปล้องและนำมาประกอบแคน ภาษาถิ่น เรียกว่า ไม้เฮี้ย หรือ ไม้เฮี้ยงา ไม้กู่เป็นไม้ไผ่ชอบขึ้นตามภูเขา

ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ไม้ไผ่เฮี้ย” ทางภาคกลางเรียกว่า”ไม้ซาง” มีมากทางภูเขาแถบอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

2.ไม้เต้าแคน มีลักษณะกลมป่องตรงกลางเป็นกระเปาะ หัวท้ายสอบและคว้านตรงปากเต้าให้เป็นรูบุ๋มเข้าไป

นิยมทำจากรากไม้ประดู่ เพราะเนื้อไม้อ่อน เจาะง่าย มีคุณสมบัติดับกลิ่นปากของผู้เป่า โดยเจาะภายในให้ทะลุบน-ล่าง

3.หลาบโลหะ เป็นแผ่นโลหะบาง ๆ (ผสมระหว่างทองแดงกับเงิน)ที่สกัดออกมาทำลิ้นแคน

4.ขี้สูด หรือชันโรง  มาจากรังแมงขี้สูด ชาวบ้านเรียก แมงน้อย ขี้สูดสีน้ำตาลปนดำ เหนียวข้น แมงน้อยมีลักษณะคล้ายขี้ผึ้ง มี 2 ปีก 6 ขา ไม่มีเหล็กไน ชอบทำรังตามโพรงต้นไม้ ตามหัวปลวกหรือพื้นดินราบ

5.ปูนขาว  เป็นปูนขาวที่ได้จากเปลือกหอยน้ำจืด( หอยกาบ) โดยเอาหอยกาบมาฝนกับหินจนได้ปูนขาวข้น แล้วเอาปูนขาวที่ได้อุดรูรั่วระหว่างลิ้นกับไม้กู่แคนเพื่อกันไม่ให้ลมที่เป่าเข้าไปผ่านรูรั่วบริเวณขอบ

6.ไม้คั่นกลาง  ทำจากไม้ไผ่ มีหน้าที่คั่นกลางระหว่างกู่แคนทั้ง 2 ด้านมิให้ชิดกัน

7.เถาย่านาง (เครือย่านาง) ใช้มัดแคนบริเวณไม้คั่นกลางทั้งด้านบนด้านล่างให้กู่แคนชิดและเรียงกันอย่างมีระเบียบ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำแคน 

1.สิ่ว มีหลายขนาด แต่ละขนาดมีหน้าที่ต่างกัน คือ

1.1   สิ่วกาน ใช้สับแผ่นโลหะเป็นชิ้นเล็ก เพื่อทำลิ้นแคน

1.2  สิ่วสับลิ้น ใช้ตกแต่งแคนให้พอดีที่จะสอดเข้าไม้กู่

2. เหล็กแซ้น เป็นโลหะบางๆนิยมทำจากแผ่นทองแดง ให้สอดใต้ลิ้นแคนซึ่งจะหนุนให้ลิ้นสูงขึ้น ทำให้การขูดลิ้นหรือการตกแต่งลิ้นแคนสะดวก

3.ค้อน ใช้ตีโลหะที่หลอมแล้วให้แผ่ออกเป็นแผ่นบางๆเพื่อเตรียมในการสับลิ้นในขั้นต่อไป

4.เขียงทั่ง ใช้รองรับการตีโลหะทองแดง หรือเงิน ในขั้นตอนการทำลิ้นแคน

5.มีดตอก ใช้ในการบาก ตัดไม้กู่แคนและขูดลิ้นแคน เป็นมีดปลายแหลมบริเวรกลางมีดใหญ่หนาและมีด้ามทำด้วยไม้ ด้ามมีดตอกมีความยาวประมาณ  50-60 ซม. บริเวณกว้างสุดของมีดตอกประมาณ 4.5 ซม.และมีความหนาด้านสันมีดประมาณ 4 มม.

6.ขันน้ำ ใช้ตักน้ำมาใช้เพื่อ จุ่ม ล้าง ทำความสะอาด ในขั้นตอนการทำลิ้นแคนและแช่เถาย่านางให้นุ่มก่อนใช้รัดแคน

7.กระดูกช้างใช้ในการรองรับลิ้นแคนในขณะที่ตี กระดูกช้างเป็นกระดูกช้างจริง

8.ไม้มือลิง เป็นไม้สำหรับดัดกู่แคนที่ลนไฟแล้วให้ตรง

9.เหล็กซี เป็นเหล็กปลายแหลมที่นำมาเจาะทะลุปล้องของกู่แคน โดยการเผาไฟให้ร้อนแดงก่อนนำมาเจาะทะลุปล้อง ช่างทำแคนจะมีเหล็กซีไม่ต่ำ กว่า 4  อัน และมีขนาดตั้งแต่เล็กสุดถึงใหญ่สุด

10.โลหะทองแดง หรือโลหะเงิน ใช้ทำลิ้นแคนได้ดี แต่ก่อนลิ้นแคนทำจากกำไลเงิน เข็มขัดเงิน แต่ปัจจุบัน ลิ้นแคนจะซื้อจากช่างที่หลอมเงิน ทองแดง ตำบลปอภาร อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด .

 *  แหล่งผลิตแคน ที่มีคุณภาพดีและได้รับการยอมรับในวงการดนตรีคือ ช่างเคน สมจินดาบ้านสีแก้ว  ช่างบัวบ้านเหล่าขาม   ช่างสี  บ้านหนองตาไก้   ช่างบุญตา  บ้านเขียดเหลือง ตำบลสีแก้ว   อำเภอเมืองร้อยเอ็ด  จังหวัดร้อยเอ็ด    ช่างสุดหรือ นายสุด หมู่หัวนา  บ้านนาทุ่ม อำเภอแก้งคร้อ  จังหวัดชัยภูมิ

 แคนแปดที่ช่างแคนทำจะมีลิ้น  2  ประเภท คือ ลิ้นทองแดง ลิ้นทองเหลืองกับลิ้นเงิน ซึ่งลิ้นเงินมีราคาสูงกว่าเพราะลิ้นเงิน เป็นแคนที่ให้เสียงไพเราะ นุ่มนวล เป็นที่นิยมของหมอแคนอาชีพ

 


 
   

 


 


                                       แผนภูมินิ้วแคนมือขวา 



       
   
   

มือขวา

 
 
 

 

 

 

 

 




















 


 

 



 





 

 

 


การเป่าแคน



                                           
                         
 
     
     
 
       
 
     
 
   
 

















   
   
 
   
 


 


แผนภูมิเปรียบเทียบแสดงรูนิ้วแคน


       
       
 
 




 

 

 

 

 



                                 ม


                                                                       
         
 
                                                 
 
           
 
     
 

 

 

 

 

 



                                 ม



                   
     
 
       
 
       
 
     
       
 






 

ภาพการฝึกจับแคน 

1.เอามือซ้ายขวาประกบเข้าอุ้มเต้าแคน หันด้านรูเป่าของเต้าเข้าหาปากตนเอง  สันมือหนีบเต้าไว้แน่น ปลายมืออยู่เหนือเต้าแคน โดยให้นิ้วทั้งสิบสามารถปิดรูแคนและขยับไปมาได้อย่างอิสระ

2. พับข้อศอกทั้ง 2 ข้าง พยุงเต้าแคนให้รูเป่าเข้าหาปาก  ลำตัวแคนอาจเบี่ยงปลายออกไปทางซ้ายหรือขวาก็ได้ 

การใช้นิ้ว 

1.ปลายนิ้วมือทั้ง  10  นิ้วของผู้เป่ามีหน้าที่ขยับกดปิดหรือเปิดรูนับของลูกแคนแต่ละลูก ลูกแคนจะเกิดเสียงก็ต่อเมื่อถูกนิ้วกดปิดรูนับในขณะที่เป่าออกหรือดูดลมผ่านเต้าแคน

2.นิ้วแต่ละนิ้วกดเฉพาะลูกแคนที่กำหนด  แต่ละมือต้องแบ่งหน้าที่ดังนี้

                                                        นิ้วโป้ง               ใช้กับ             ลูกที่ 1

                                          นิ้วชี้                  ใช้กับ             ลูกที่ 2 และ 3

                                           นิ้วกลาง             ใช้กับ             ลูกที่ 4 และ 5

                                          นิ้วนาง               ใช้กับ             ลูกที่ 6 และ 7

                                          นิ้วก้อย              ใช้กับ             ลูกที่ 8

 

                                          มือซ้าย                                         มือขวา 

ภาพ แผนภูมิการวางตำแหน่งนิ้วและเสียงแคน



การใช้ลม 

 

               แคนเป็นเครื่องดนตรีที่สามารถให้เสียงต่อเนื่องตลอด  เมื่อผู้เป่า เป่าลมและดูดลม  การผ่าลมไปยังลิ้นแคนจะต้องมีความสม่ำเสมอ เมื่อต้องการให้เสียงรัวเร็วหรือเสียงสั้นผู้เป่าจะต้องใช้ลิ้นตัดลมช่วยตัดลมให้ขาดเป็นช่วงๆ เมื่อฝึกจนเกิดความชำนาญแล้วผู้เป่าสามารถเป่าแคนด้วยการหายใจเข้าออกขณะบรรเลง   ควรฝึกใช้ลมจากท้องหรือกระบังลม ไม่ควรใช้ลมจากกระพุ้งแก้ม การฝึกเป่าแคนผู้ฝึกควรปฏิบัติดังนี้

1.ผู้เป่าห่อปากเพื่อให้ปากประกบรูเป่าได้พอดี ไม่ใช่อ้าปากอมเต้า

 2.เวลาเป่าลมเข้าให้ทำปากเหมือนจะเปล่งเสียง  “ ตู ”

 3.เวลาดูดลม  ให้ทำปากเหมือนจะเปล่งเสียงว่า “ฮู”  โดยให้ลมที่ดูดเข้าไปในปาก

 4.ขณะที่เป่าและดูดนั้นจมูกยังหายใจอยู่ แต่ปริมาณลมผ่านมีน้อยกว่าปกติ เพราะ ถูกแบ่งไปผ่านทางปากด้วย  ควรฝึกให้จังหวะการหายใจเข้า-ออกสัมพันธ์กับการดูดเป่าตลอดเวลา  อย่ากลั้นลมหายใจ

 5.แรงของลมเข้าออกแตกต่างกันมีผลต่อสำเนียงของแคน  ความดังเบา (dynamic) ของเสียงแคนขึ้นอยู่กับลมที่ผ่านลิ้น

 6.ผู้เป่าสามารถทำให้เสียงแคนฟังแปลกออกไปได้  ด้วยการทำรูปปากบังคับกระแสลมที่ดูดเป่า  กระทบกับอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการเปล่งเสียง (Speech  organs) ภายในกระพุ้งปาก  ตัวอย่างเช่น  เมื่อผันลิ้นเปล่งเสียงว่า “แต็นแต็น”  หรือ  “แตรแตร”  หรือ  “ดราดรา”  หรือ  “ตุยตุย”  หรือ  “จั้ดจั้ด”  ฯลฯ  ย่อมทำให้มีสำเนียงเสียงแตกต่างกันไป

 7.ความสั้นยาวของลมเป่าดูดมีผลต่อสำเนียงแคนด้วยเช่นกัน  ผู้เป่าสามารถใช้ลม  ยาว ๆ โยงโน้ตหลาย ๆ ตัว  แบบ  legato  ทำให้สำเนียงของเสียงแคนฟังราบเรียบไพเราะอ่อนหวาน  หรือจะตัดลมให้สั้นเน้นเป็นห้วง ๆ กระแทกลมแบบ  Staccato  สำเนียงเพลงก็จะฟังดูร่าเริงสนุกสาน

8.ความกังวาน  (Sonority  หรือ  Sustain)  ของเสียงแคน  นอกจากจะขึ้นอยู่ที่คุณภาพของลิ้นแคนแล้ว  ยังอยู่ที่การใช้เสียงคู่  8  เปอร์เฟคท์  หรือคู่เสียงอ็อคเทฟ (octave) ด้วย  กล่าวคือแม้ทำนองหลักจะเขียนไว้เป็นแนวเดียว  (Single  line)  แต่เวลาปฏิบัติผู้เป่าต้องเปิดรูนับของลูกแคน  2  ลูกทำเสียงคู่  8 เปอร์เฟคท์ไปพร้อมกันตัวอย่างเช่น  เวลาเล่นเสียง “โด”  ต้องปิด รูนับทั้ง  “โดต่ำ”  และ  “โดสูง”  ไปพร้อมกัน

 9.เสียงสั่นพลิ้ว  (Vibrato  และ  tremolo)  ทำได้ด้วยการซอยแบ่งเขย่าลมดูดเป่าสัมพันธ์กับการพรมปลายนิ้วเผยอปิดเปิดรูนับด้วยความรวดเร็ว

(สำเร็จ  คำโมง : 2538)

                 ผู้เป่าแคนสามารถเป่าโดยใช้ลมออกจากปากและดูดลมเข้าไปในปาก เวลาเป่าลมหรือดูดลมผู้เป่าจะต้องใช้นิ้วปิดรูนับเพื่อบังคับให้เกิดเสียงตามความต้องการ นิ้วมือทั้งสองข้างของผู้เป่าต้องทำหน้าที่ปิดรูนับเคลื่อนย้ายไปมาเพื่อทำให้เกิดเสียง นิ้วมือขวาและซ้ายจะต้องทำหน้าที่ปิดรูนับแตกต่างกัน

ดังนี้                                                                    


 

มือขวา 

                  นิ้วหัวแม่มือ     ทำหน้าที่ปิดรู       โป้ขวา (ทุ่ง)    เสียง     ลา

                  นิ้วชี้                 ทำหน้าที่ปิดรู        แม่เซ              เสียง     โด

                                                                   สะแนน          เสียง     ซอล

                  นิ้วกลาง          ทำหน้าที่ปิดรู         ฮับทุ่ง             เสียง     ลา

                                                                   ลูกเวียง           เสียง      ที

                  นิ้วนาง            ทำหน้าที่ปิดรู         แก่น้อย           เสียง      โด

                                                                    ก้อยขวา         เสียง      เร

                  นิ้วก้อย            ทำหน้าที่ปิดรู         เสพขวา          เสียง     ลา

มือซ้าย 

                  นิ้วหัวแม่มือ     ทำหน้าที่ปิดรู       โป้ซ้าย            เสียง      โด

                  นิ้วชี้                 ทำหน้าที่ปิดรู       แม่เวียงใหญ่   เสียง      ที

                                                                   แม่แก่             เสียง      เร

                 นิ้วกลาง            ทำหน้าที่ปิดรู        แม่ก้อยขวา     เสียง      มี

                                                                   แม่ก้อยซ้าย     เสียง      ฟา

                 นิ้วนาง              ทำหน้าที่ปิดรู        สะแนน          เสียง      ซอล

                                                                   ก้อยซ้าย         เสียง      ฟา

                    นิ้วก้อย              ทำหน้าที่ปิดรู        เสพซ้าย        เสียง      ซอล

 

ชื่อเรียกของลูกแคนตามลำดับ  


คู่ที่ 1

คู่ที่ 2

คู่ที่ 3

คู่ที่ 4

คู่ที่ 5

คู่ที่ 6

คู่ที่ 7

คู่ที่ 8

ซ้ายมือ

โป้ซ้าย

เวียงใหญ่ หรือ แม่เวียง

แม่แก่

แม่ก้อยขวา

แม่ก้อยซ้าย

สะแนน

ก้อยซ้าย

เสพซ้าย

ขวามือ

ทุ่ง หรือ โป้ขวา

แม่เซ

สะแนน

ฮับทุ่ง

เวียงน้อย หรือ ลูกเวียง

แก่น้อย

ก้อยขวา

เสพขวา


ลูกแคนเทียบเป็นโน้ตไทย ได้ดังนี้ 

 

คู่ที่1

คู่ที่2

คู่ที่3

คู่ที่4

คู่ที่5

คู่ที่6

คู่ที่7

คู่ที่8

ซ้ายมือ

ทฺ

รฺ

มฺ

ซํ

ขวามือ

ลฺ

ดฺ

ลํ




แบบฝึกหัดที่ 1(เป่าเสียง โด) 

                 ให้ใช้นิ้วกดปิดเสียง “โด” โดยที่มือซ้าย ใช้นิ้วโป้งกดปิดรูในลูกที่ 1 แพซ้าย และมือขวา ใช้นิ้วชี้ กดปิดรูในลูกที่ 2  แพขวา และใช้ปลายเท้าเคาะลงในจังหวะที่ 4  อย่างสม่ำเสมอ เป่าลม และดูดลมเข้า-ออก ตามจังหวะ เป่าซ้ำหลายๆ รอบจนเข้าใจ ตามแบบฝึกต่อไปนี้


แบบฝึกที่  1.1 

   ฝึกเป่าจังหวะที่ 1 , 2 ,  3 , 4    เป่าครั้งละ 4 เสียง( 1 ลม ต่อ 4  เสียง) ทำปากขณะเป่า “ ตู ตู ลู ตู”


1 2 3 4

1 2 3 4

1 2 3 4

1 2 3 4

ด ด ด ด

ด ด ด ด

ด ด ด ด

ด ด ด ด

ตู ตู ลู ตู

ตู ตู ลู ตู

ตู ตู ลู ตู

ตู ตู ลู ตู

           

 แบบฝึกที่  1.2 

  ฝึกเป่าในจังหวะที่  2 ,  4    เป่าครั้งละ 2 เสียง( 1 ลม ต่อ 2 เสียง)ทำปากขณะเป่า “  ลู ตู ”


1 2 3 4

1 2 3 4

1 2 3 4

1 2 3 4

- ด - ด

- ด - ด

- ด - ด

- ด - ด

  -  ลู  - ตู

-  ลู  - ตู

-  ลู  - ตู

-  ลู  - ตู



                          แบบฝึกที่  1.3 

  ฝึกเป่าในจังหวะที่  2 ,  3 , 4    เป่าครั้งละ 3 เสียง( 1 ลม ต่อ 3 เสียง)ทำปากขณะเป่า “  ตู ลู ตู”


1 2 3 4

1 2 3 4

1 2 3 4

1 2 3 4

- ด ด ด

- ด ด ด

- ด ด ด

- ด ด ด

-  ตู ลู ตู

-  ตู ลู ตู

-  ตู ลู ตู

-  ตู ลู ตู



                          แบบฝึกที่  1.4 

ฝึกเป่าในจังหวะที่  2 ,  4  และ  2 , 3 , 4  เป่าครั้งละหนึ่งห้องเพลง( 1 ลม ต้องเป่าให้ได้ 1 ห้อง)

                        ทำปากขณะเป่า    “  ลู  ตู ”    “   ตู ลู ตู”  “  ลู ตู ”   “  ตู ลู ตู” 

1 2 3 4

1 2 3 4

1 2 3 4

1 2 3 4

- ด - ด

- ด ด ด

- ด - ด

ด ด ด ด

  -  ลู - ตู

-  ตู ลู ตู

  -  ลู - ตู

-  ตู ลู ตู

 

 

 

 


    แบบฝึกที่  1.5 

ฝึกเป่าในจังหวะที่   4  และ  2 , 3 , 4  4  เป่าครั้งละหนึ่งห้องเพลง( 1 ลม ต้องเป่าให้ได้ 1 ห้อง)

ทำปากขณะเป่า “   ตู ”    “  ตู ลู ตู”    “ ลู ตู”    “  ตู ลู ตู”  

 

1 2 3 4

1 2 3 4

1 2 3 4

1 2 3 4

 -  -  - ด

- ด ด ด

- ด - ด

ด ด - ด

  -  -  - ตู

-  ตู ลู ตู

-  ลู -  ตู

  ตู ลู  - ตู

 

                       แบบฝึกที่  1.6 

ฝึกเป่าในจังหวะที่  4  และ  (1 , 2 , 4) (1 , 2 , 4)  (1 , 2 , 4)   เป่าครั้งละหนึ่งห้องเพลง( 1 ลม ต้องเป่าให้ได้ 1 ห้อง)



1 2 3 4

1 2 3 4

1 2 3 4

1 2 3 4

-  -  - ด

ด ด - ด

ด ด - ด

ด ด - ด

  -  -  -  ตู

  ตู ลู  - ตู

  ตู ลู  - ตู

  ตู ลู  - ตู

 

หมายเหตุ 

                   แบบฝึกดังกล่าวสามารถนำไปใช้กับเสียงอื่นๆ เช่น    เร  มี  ฟา  ซอล  ลา  ที  โด

*   ารเป่าจ่าดแคน คือ

          ­   

-  -  -   ร

      ซ , ฟ

          ล

 

-  -  -  -

 

-  -  -  -

 

-  -  -  -

          ­   

-  -  -   ล

          ด

          ม

 

-  -  -  -

 

-  -  -  -

 

-  -  -  -

แคนลายน้อย   กดเสียง  ร,ซ ,ฟ,ล พร้อมกันแล้วเป่าลมออก 1 ลมยาวกดเสียง  เร รูเดียวแล้วพรมนิ้ว

แคนลายใหญ่   กดเสียง  ล,ด,ร,ม พร้อมกันแล้วเป่าออก 1 ลมยาว กดเสียง มี  รูเดียวแล้วพรมนิ้ว

         การฝึกหัดใช้นิ้วบังคับรูนับไล่เสียงเป็นคู่ๆ ในเบื้องต้น ผู้ฝึกหัดอาจไม่ถนัดในตอนแรก เมื่อฝึกหัดบ่อยๆ

จะมีความคล่องแคล่วขึ้น  และควรฝึกไล่เสียงอยู่เสมอ ตามแบบฝึกหัดต่อไปนี้


         ­

-  -  -  ด

         ¯

-  -  -  ร

         ­

-  -  -  ม

         ¯

-  -  -  ฟ

         ­

-  -  -  ซ

         ¯

-  -  -  ล

         ­

-  -  -  ท

         ¯

-  -  -  ด

         ­

-  -  -  ด

          ¯

-  -  -  ท

         ­

-  -  -  ล

         ¯  

-  -  -  ซ

          ­

-  -  -  ฟ

        ¯

-  -  -  ม

         ­

-  -  -  ร

         ¯

-  -  -  ด


  ารเป่าโดยใช้ลิ้นตัดลม

        เป็น วิธีการเป่าที่ผู้เป่าจะต้องฝึกใช้ลิ้นตัดลมหรือการกระดกลิ้นออกเสียง” ตา ”

 ข้อควรจำ 

1.เวลาเป่าลายใหญ่รูนับที่เสพขวา ( เสียง มี ) ให้ใช้ขี้สูดปิดทับรูไว้ตลอด  จะทำให้เกิดเสียงประสานเวลาเป่า

2.เวลาเป่าลายสุดสะแนนรูนับที่เสพซ้าย(เสียงซอล) และสะแนนน้อย ( เสียง ซอล ) ให้ใช้ขี้สูดปิดทับรูไว้ตลอด

จะทำให้เกิดเสียงประสานเวลาเป่า               

ภาพการปิดนิ้วรูแคน 




 

การเลือกแคน 

แคนที่มีขายอยู่โดยทั่วไปนั้นมีหลายราคา  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของแคน ซึ่ง ดร.เจริญชัย   ชนไพโรจน์ (2515  :  12 – 13) ได้กล่าวถึงวิธีเลือกแคนเพื่อเป็นแนวทางไว้ดังนี้

1.ไม่กินลม  หมายความว่า  เวลาเป่าไม่ต้องใช้ลมมากก็ดัง  เพราะแคนที่ใช้ลมเป่ามากจะทำให้ผู้เป่าเหนื่อยเร็ว   แคนจะกินลมมากน้อยอาจจะขึ้นอยู่กับขนาดของแคน  ถ้าแคนขนาดใหญ่มักจะกินลมกว่าแคนขนาดเล็ก  แต่สาเหตุสำคัญมักจะเนื่องมาจากลิ้นแคนที่หนาและแข็ง  มักจะกินลมมากหรืออาจจะเป็นเพราะมีรูรั่วต่าง ๆ ตามเต้าแคนซึ่งชันอุดไม่สนิทก็เป็นได้

2.เสียงหนึ่ง ๆ ควรจะดังเท่ากัน ทั้งเวลาสูดลมเข้าและเป่าลมออกเสียงทุกเสียงควรจะดังเท่ากันคู่เสียงของแคนซึ่งเป็นคู่ควรจะดังเท่ากันและมีระดับเสียงเข้าคู่กันอย่างสนิท  ไม่มีผิดเพี้ยนแม้แต่เพียงเล็กน้อย จึงจะได้คู่เสียงที่กลมกล่อมไม่กระด้างควรจะเลือกแคนที่มีขนาดพอเหมาะกับมือของผู้เป่า  ทั้งนี้ต้องให้ได้ขนาดพอเหมาะ จึงจะกดนิ้วได้สะดวก

การเก็บรักษาแคน 

แคนเป็นเครื่องดนตรีที่บอบบาง อาจชำรุดเสียหายได้ง่าย ต้องดูแลรักษาอย่างดี  จึงควรทราบวิธีเก็บรักษา ดังนี้

1.แคนถือเป็นเครื่องดนตรีที่มีครูบาอาจารย์ ดังนั้นไม่ควรนำแคนไปใช้หยอกล้อต่อสู้กันเด็ดขาด เพราะถือว่าไม่เคารพครูบาอาจารย์  และไม่ควรนำแคนไปวางตากแดดหรือเอาไว้ใกล้ความร้อน เพราะจะทำให้ขี้สูด(ชันโรง)ที่อุดตามเต้าแคนละลายไหลไปเกาะติดที่ลิ้นแคน ทำให้เป่าไม่ดัง ควรจะเก็บแคนไว้ในถุงผ้าหรือกล่องที่แข็งแรง และมิดชิด เพื่อกันแมลงหรือฝุ่นไม่ให้ไปเกาะรูกู่แคน และลิ้นแคนจะทำให้แคนชำรุด รวมถึงป้องกันการกระทบกระแทกเพราะแคนจะแตกได้ง่าย

2.ควรจะเป่าอยู่เสมอ การเป่าบ่อย ๆ จะทำให้แคนมีเสียงดีและนุ่มนวล แต่อย่าใช้ลมเป่ากระโชกโฮกฮาก เพราะจะทำให้ปลายลิ้นแคนโก่งขึ้นหรือฟุบลงได้ เวลาเป่าลมเข้าหรือสูดลมออกจะดังไม่เท่ากันไม่ควรนำแคนไปจุ่มน้ำหรือแช่น้ำ เพราะจะทำให้ลิ้นแคนเป็นสนิม

3.ควรแขวนหรือเก็บแคนไว้ในที่ที่แน่ใจว่าปลอดภัย ไม่ควรวางแคนในที่ที่จะทำให้แตกง่าย เช่น วางไว้บนที่สูง หรือวางไว้ตามโต๊ะเก้าอี้ วางไว้ตามพื้นห้อง พื้นสนาม เพราะอาจจะเผลอทำตกหรือเดินไปเหยียบแตกได้

ถ้าไม่กู่แคนแตกเพียงเล็กน้อย อาจจะซ่อมแซมได้โดยใช้ด้ายไหม หรือสก็อตเทปพันให้คงรูปในสภาพที่ดีอย่างเดิม แต่ถ้าแตกมากก็ต้องเปลี่ยนไม้กู่แคนนั้นใหม่ จึงจะใช้การได้

4.ถ้าเสียงกู่ใดไม่ดัง ก็อาจจะถอดกู่นั้นออกมาปัดฝุ่น เช็ดลิ้นแคนให้สะอาด เพราะบางทีอาจมีมดหรือแมลงตัวเล็ก ๆ เข้าไปติดอยู่ตามลิ้นแคนได้เวลาสูดลมเข้าหรือเป่าลมออกโดยที่ไม่กดนิ้ว ถ้าหากมีเสียงดังก็แสดงว่าลิ้นแคนใดลิ้นแคนหนึ่ง จะต้องโก่งหรือฟุบลงแน่ ๆ จำเป็นต้องถอดกู่แคนนั้นออกมาดัดลิ้นให้ตรงได้ระดับ โดยใช้ปลายเข็มหรือใบมีดโกนบาง ๆ สำหรับยกลิ้นแคนขึ้น แล้วใช้เล็บมือกรีดลิ้นแคนเบา ๆ เพื่อดัดให้ได้ระดับ




แคน 

                 แคนเป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานประเภทเครื่องเป่าที่มีลิ้น  เหตุที่เรียกชื่อว่า “แคน” ท่านผู้รู้หลายท่าน ต่างให้ความคิดเห็นว่าอาจเป็นเพราะเสียงดังออกมาจากการเป่าคือ“ แคนแล่นแคนแล่นแคน แล่นแคน “ แต่จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีมีการขุดค้นซากแคนในชั้นหินอายุมากกว่า  2,000  ปี ในมณฑลยูนนานของจีนแผ่นดินใหญ่  ( เจริญชัย  ชนไพโรจน์ 2528:41)

ปี 2467 นักค้นคว้าชาวฝรั่งเศส ได้ขุดค้นพบขวานสัมฤทธิ์ อายุประมาณ  3,000  ปีจำหลักรูปคนเป่าแคนน้ำเต้าไว้บนขวานนั้นที่เมืองดองซอน (Dong  son) ริมแม่น้ำซองมา จังหวัดถั่นหัว (Thann  Hah) ของเวียดนาม

( สุจิตต์  วงษ์เทศ 2530:16 -18) รวมทั้งหลักฐานจากมโหระทึกโบราณ ที่เมืองดองซอนมีภาพคนเป่าแคน

ซึ่งบริเวณที่ขุดค้นพบแคนนั้นจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดียืนยันว่าเคยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนชาติไทย – ลาว มาก่อน

                  ชนเผ่าตระกูลไทย-ลาว ในปัจจุบันนี้นอกจากจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทยและประเทศลาวแล้วยังมีอยู่ที่ภาคเหนือของประเทศเวียดนาม อยู่ในรัฐฉานของประเทศพม่า อยู่ในแคว้นอาหมของประเทศอินเดีย และอยู่ในภาคใต้กับภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีนด้วย (สุจิตต์  วงษ์เทศ 2530)

                 ดังนั้นถือได้ว่าแคนเป็นเครื่องดนตรีประเภทเล่นทำนองที่เก่าแก่มากชนิดหนึ่งของโลกและเป็นต้นแบบของเครื่องดนตรีสากลประเภทลิ่มนิ้วคือออร์แกนซึ่งมีมายาวนานกว่า 2,000  ปี

(อุทิศ  นาคสวัสดิ์ 2512: 161 และ Isaac’s  and  Martin 1982 :277 )

                ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์(พ.ศ. 2393 – 2453) การเล่นแคนซึ่งมีชื่อเรียกในสมัยนั้นว่าการเล่น”ลาวแคน” เป็นที่นิยมเล่นกันในประเทศไทยอย่างกว้างขวาง เพราะพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว(พระราชอนุชา) ทรงโปรดการเล่นแคนและการละเล่นแอ่วลาวมาก จนถึงกับได้ทรงพระราชนิพนธ์บทแอ่วลาว(หมอลำเรื่อง)เรื่อง”นิทานนายคำสอน”ขึ้น ที่พระองค์ทรงมีความสามารถเช่นนั้น อาจเป็นเพราะมีเจ้าจอมจากสระบุรีและนครราชสีมาหลายคนและหลายรุ่นทำให้วังหน้าของพระองค์มีผู้คนเป็นชาวลาวจากหัวเมืองลาวเป็นจำนานมาก

                เมื่อวังหน้าทรงโปรดการเล่นแอ่วลาวเช่นนั้น พลอยทำให้วังอื่นนิยมเล่นตาม หลักฐานจากบันทึกประจำวันของเซอร์  จอห์น  เบาริง (Sir John Bowring)นักภาษาศาสตร์และรัฐบุรุษชาวอังกฤษ ผู้ซึ่งพระนางวิคตอเรีย(Queen  Victoria)พระราชินีของประเทศอังกฤษ ส่งเข้ามาทำสัญญาทางพระราชไมตรีกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างปี ค.ศ. 1792-1872 บันทึกเกี่ยวกับการเล่นลาวแคนไว้ เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2398(ค.ศ. 1855)ว่า วังของกรมหลวงวงษาธิราชสนิท ซึ่งเป็นเจ้านายพระองค์หนึ่งก็นิยมเล่นลาวแคนเช่นกัน(อเนก นาวิกมูล2527:16 - 19)การที่เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ กระทั่งว่าสมเด็จพระราชอนุชาโปรดปรานการเล่นลาวแคนมากเช่นนั้น ทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นห่วงว่าแคนจะกลืนเอาศิลปะ

การดนตรีอื่นๆของไทยไปเสีย อีกหน่อยจะไม่มีผู้เล่นละครฟ้อนรำ ปี่พาทย์มโหรี เสภา สักวา เพลงเกี่ยวข้าวและอื่นๆเป็นแน่  อีกประการหนึ่งในสมัยนั้นไทยยังถือว่าดินแดนภาคอีสานเป็นเพียงหัวเมืองประเทศราช เรียกว่า

หัวเมืองลาว”โดยเรียกเป็นมณฑลลาวต่างๆเพิ่งยกเลิกการแบ่งภาคอีสานเป็นมณฑล ในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 นี้เอง(ศรีศักร  วัลลิโภดม 2534:271) แคนจึงถูกมองว่าเป็นเครื่องดนตรีของต่างชาติ

             พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเก็บความห่วงใยในเรื่องแคนนี้ไว้จนกระทั่งเมื่อพระอนุชา คือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ.2409 จึงทรงมีพระราชโองการให้ออกประกาศห้ามมิให้เล่น ลาวแคนหรือแอ่วลาว  ณ วันศุกร์ เดือน 12 แรม 14 ค่ำ ปีฉลู  จ.ศ. 1227 (พ.ศ. 2408)

(อเนก นาวิกมูล2527:17 - 19)

ตำนานเกี่ยวกับแคน

ตามตำนานที่เล่าสืบต่อกันมา

             นามมาแล้วพระราชาองค์หนึ่งเสด็จพร้อมด้วยข้าราชบริพารประภาสป่าล่าสัตว์วันหนึ่งขณะที่บรรทมหลับทรงสุบินว่ามีสิ่งของสิ่งหนึ่งตกลงมาจากฟากฟ้า  แต่พระองค์ก็ไม่ทราบว่าคืออะไรเมื่อพระองค์ตื่นบรรทมได้ยินเสียงไพเราะแว่วมาจากในป่าที่ไพเราะมากทรงเข้าใจว่าเป็นเสียงนกการะเวก จึงเสด็จพร้อมกับข้าราชบริพารตามเสียงนั้นไป เสียงนั้นดังชัดเจนขึ้นทุกที จนกระทั่งพระองค์แยกได้ว่า เสียงนั้นแบ่งออกเป็น 7 ระดับเสียง พอเสด็จเข้าไปใกล้ก็พลันประจักษ์ว่าเสียงนั้นมิใช่เสียงนกการะเวก  แต่เป็นเสียงน้ำตกซึ่งตกจากที่สูงลงมากระทบแอ่งหิน ที่อยู่ลดหลั่นกันลงมาเจ็ดชั้น  พระองค์รับสั่งให้ข้าราชบริพารตัดไม้อ้อในบริเวณนั้นเจ็ดลำ พร้อมกับทำลิ้นแล้วฝังลงไปในอ้อทุกลำ เมื่อเป่าได้เสียงทั้งเจ็ดระดับเสียง มีความไพเราะเหมือนกับ เสียงที่ได้ยินจากน้ำตก ไม้อ้อทั้งเจ็ดลำ  นั้นจึงนำมาประกอบกันเป็นเครื่องดนตรีเป็นครั้งแรกมีชื่อเรียกว่า “ แคน

 (จันทรเกษม,๒๕๓๓:๖๒ )

 ตำนานหญิงหม้ายกับแคน

               นายพรานเข้าไป ในป่าเพื่อหาล่าสัตว์ตามวิถีชีวิตของชาวบ้านได้เดินเข้าไปในป่าลึก และได้ยินเสียงที่มีความไพเราะมาก มีทั้งเสียงสูง เสียงต่ำ บ้างสลับกันไป  ได้เดินเข้าไปดูจึงรู้ว่าเป็นเสียงร้องของนกชนิดหนึ่ง เรียกว่า “นกการเวก” จากนั้นก็ได้เดินทางกลับบ้าน แล้วนำเรื่องที่ตนได้ยินมาเล่าให้ชาวบ้านฟัง และมีหญิงหม้ายคนหนึ่งพอได้ฟังแล้วเกิดความสนใจมาก เลยขอตามนายพราน เข้าไปในป่าเพื่อไปดูนกการเวก ว่ามีเสียงไพเราะจริงหรือไม่ ครั้นหญิงหม้ายได้ฟังเสียงนกการเวกร้องก็เกิดความไพเราะ  เมื่อกลับถึงบ้าน ได้คิดทำเครื่องดนตรีต่างๆ เช่น ดีด สี ตี เป่า หลายๆ อย่างก็ยังไม่มีเสียงดนตรีชนิดใดมีเสียงไพเราะเหมือนกับเสียงนกการเวก ในที่สุดนางก็ได้ไปตัดไม้ชนิดหนึ่ง เอามาประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นเครื่องเป่า รู้สึกว่าไพเราะมาก จึงพยายามดัดแปลง แก้ไขอีกหลายครั้ง จนไพเราะเหมือนเสียงร้องของนกการเวก ในที่สุด เมื่อแก้ไขแล้วลองเป่ารู้สึกไพเราะจับใจมาก ดั่งเสียงนกการเวก นางจึงคิดที่จะไปทูลเกล้าถวายพระเจ้าปเสนทิโกศล และฝึกหัดเป่าลายต่างๆจนเกิดความชำนาญจึงนำเครื่องดนตรีไปเข้าเฝ้าฯ ถวาย แล้วเป่าลายเพลงให้พระเจ้าปเสนทิโกศลฟัง เมื่อฟังเพลงจบแล้วพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมีความพึงพอใจมากที่มีเครื่องดนตรีประเภทนี้เกิดขี้นและทรงตั้งชื่อเครื่องดนตรีชนิดนี้ว่า “แคน” ด้วยเหตุนี้เครื่องดนตรีที่หญิงหม้ายที่ได้ประดิษฐ์ขึ้น จึงชื่อว่า “แคน” มา ตราบเท่าทุกวันนี้   แม้ไม่มีหลักฐานยืนยัน แต่มีเหตุผลสอดคล้องกันเพราะชื่อส่วนประกอบของแคนส่วนที่ใช้ปากเป่า   เรียกว่า  ” เต้าแคน “  มีลักษณะรูปร่างเป็นกระเปาะคล้าย  “ เต้านม “ ของสตรี นอกจากนี้ยังใช้คำลักษณะนามของแคนว่า “ เต้า “แทนคำว่า อันหรือชิ้น ดังนี้เป็นต้น ที่สำคัญคือเสียงแคนเป็นเสียงที่ไพเราะ 

ชนิดของแคน

             แคนมีจำนวนของลูกแคนหรือไม้กู่แคนมากน้อยแตกต่างกัน จึงพอจะจำแนกออกได้เป็น   4   ชนิด คือ1.แคนหก

   แคนหกมีจำนวนลูกแคน  6  ลำหรือไม้กู่แคน  3  คู่ คือด้านซ้าย 3 ลำ  ด้านขวา  3 ลำ แคนชนิดนี้เป็นแคนสำหรับเด็กเป่าเล่นเพราะมีเสียงไม่ครบ 7  เสียง

2.แคนเจ็ด

      แคนจ็ดมีจำนวนลูกแคน   14  ลำหรือไม้กู่แคน   7  คู่ มีเสียง  14  เสียง

3.แคนแปด

      แคนแปดเป็นแคนสำหรับเป่าประสานเสียงคลอไปกับการขับร้องหรือ “ ลำ “ระบบของแคนแปดมีเสียงทั้งหมด  16  เสียง  แต่มีเสียงที่ซ้ำกัน  2  เสียง  คือ ซอล  ฉะนั้นจึงมีเสียงที่มีระดับแตกต่างกันทั้งหมด  15  เสียง  เรียงลำดับจากต่ำไปสูง   ดังนี้  คือ  ลา  ที  โด  เร  มี  ฟา  ซอล  (ซอล) ลา  ที  โด  เร  มี   ฟา  ซอล   ลา    แต่เสียงทั้ง   16  เสียงนี้ไม่ได้เรียงลำดับอย่างเสียงโปงลางหรือระนาด  แต่เสียงเหล่านี้นำไปเรียงกันในลักษณะที่คล้ายคลึงกับการเรียงตัวอักษรของพิมพ์ดีด  ทั้งนี้คงเพื่อความสะดวก ในการบรรเลงลายพื้นบ้านนอกจากใช้แคนประกอบการลำแล้วแคนเเปดมีเสียงประสานที่ลงตัวจึงเป็นเครื่องดนตรีที่นิยมใช้บรรเลงในปัจจุบันกับวงดนตรีพื้นบ้านอีสานและวงดนตรีประเภทต่าง ๆ เช่น  วงลูกทุ่งหมอลำ   ,  วงดนตรีเพื่อชีวิต  เป็นต้น แคนแปดมีไม้กู่แคนหรือลูกแคน   8   คู่  16   ลำ มีเสียงทั้งหมด 16 เสียง

4.แคนเก้า 

       แคนเก้าเป็นแคนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และมีน้ำหนักมาก ใช้เป็นแคนเดี่ยวสำหรับเป่าประสานเสียงคลอไปกับการขับร้องหรือ “ ลำ “ เช่นเดียวกับแคนแปด มีไม้กู่แคนหรือลูกแคน  9  คู่ , 18   ลำ มีเสียงทั้งหมด 18 เสียง แคนเก้ามีเสียงทุ้มต่ำ  ในอดีตแคนเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบกิจกรรมต่างๆ คือ

1.ใช้บรรเลงประกอบการทรงเจ้าเข้าผีหรือการบวงสรวงเทพเจ้า  เช่น การลงผีฟ้า บางทีเรียกว่า “ ลงอ้อ “ หรือ

ลงข่วง

2.ใช้ประกอบการละเล่นชาวพื้นเมืองที่สืบเชื้อสายจากเขมร คือ  เจรียงกันตร้อปกัย และ เจรียงเบริน

3.ใช้ประกอบการเซิ้งบ้องไฟ

4.ใช้ประกอบการแสดงหมอลำ

5.ใช้ประกอบการรำซวยมือ

โอกาสที่เล่นและการผสมวง        แคนเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญที่สุดของชาวอีสาน  เพราะการบรรเลงดนตรีทุกอย่างของชาวอีสานจะต้องอิงแคนเป็นหลัก  ทำนองเพลงของเครื่องดนตรีต่าง  ๆ ล้วนยึดแบบอย่างของลายแคนทั้งสิ้น  ในสมัยโบราณพวกหนุ่มผู้นิยมเป่าแคนดีดพิณเดินไปคุยสาวตามบ้าน  ในงานบุญผะเหวด  พวกหนุ่มก็จะพากันเป่าแคน  ดีดพิณ  สีซอ  เลาะตามตูบหรือผาม  (ปะรำ)  พร้อมกับเกี้ยวสาวไปด้วยซึ่งเรียกว่า  “ลำเลาะตูบ”  แต่ในปัจจุบัน  ประเพณีเหล่านี้แทบสูญหายไปแล้ว  เหลือเพียงการบรรเลงประกอบลำและประกอบฟ้อนในงานที่มีการจ้างหาในรูปแบบต่างๆ

ส่วนประกอบของแคนแปด 

 

  



ภาพส่วนประกอบของแคน

1.ไม้กู่แคน(ลูกแคน) คือไม้สำหรับทำลูกแคน  กู่แคน หมายถึงไม้ส่วนที่เป็นท่อขยายเสียงแคน มีลักษณะเป็นข้อปล้องเปลือกบาง คล้ายไม้ซางแต่เปลือกแข็งแน่น ผิวละเอียดกว่า ช่างแคนจะเจาะทะลุปล้องและนำมาประกอบแคน ภาษาถิ่น เรียกว่า ไม้เฮี้ย หรือ ไม้เฮี้ยงา ไม้กู่เป็นไม้ไผ่ชอบขึ้นตามภูเขา

ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ไม้ไผ่เฮี้ย” ทางภาคกลางเรียกว่า”ไม้ซาง” มีมากทางภูเขาแถบอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

2.ไม้เต้าแคน มีลักษณะกลมป่องตรงกลางเป็นกระเปาะ หัวท้ายสอบและคว้านตรงปากเต้าให้เป็นรูบุ๋มเข้าไป

นิยมทำจากรากไม้ประดู่ เพราะเนื้อไม้อ่อน เจาะง่าย มีคุณสมบัติดับกลิ่นปากของผู้เป่า โดยเจาะภายในให้ทะลุบน-ล่าง

3.หลาบโลหะ เป็นแผ่นโลหะบาง ๆ (ผสมระหว่างทองแดงกับเงิน)ที่สกัดออกมาทำลิ้นแคน

4.ขี้สูด หรือชันโรง  มาจากรังแมงขี้สูด ชาวบ้านเรียก แมงน้อย ขี้สูดสีน้ำตาลปนดำ เหนียวข้น แมงน้อยมีลักษณะคล้ายขี้ผึ้ง มี 2 ปีก 6 ขา ไม่มีเหล็กไน ชอบทำรังตามโพรงต้นไม้ ตามหัวปลวกหรือพื้นดินราบ

5.ปูนขาว  เป็นปูนขาวที่ได้จากเปลือกหอยน้ำจืด( หอยกาบ) โดยเอาหอยกาบมาฝนกับหินจนได้ปูนขาวข้น แล้วเอาปูนขาวที่ได้อุดรูรั่วระหว่างลิ้นกับไม้กู่แคนเพื่อกันไม่ให้ลมที่เป่าเข้าไปผ่านรูรั่วบริเวณขอบ

6.ไม้คั่นกลาง  ทำจากไม้ไผ่ มีหน้าที่คั่นกลางระหว่างกู่แคนทั้ง 2 ด้านมิให้ชิดกัน

7.เถาย่านาง (เครือย่านาง) ใช้มัดแคนบริเวณไม้คั่นกลางทั้งด้านบนด้านล่างให้กู่แคนชิดและเรียงกันอย่างมีระเบียบ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำแคน 

1.สิ่ว มีหลายขนาด แต่ละขนาดมีหน้าที่ต่างกัน คือ

1.1   สิ่วกาน ใช้สับแผ่นโลหะเป็นชิ้นเล็ก เพื่อทำลิ้นแคน

1.2  สิ่วสับลิ้น ใช้ตกแต่งแคนให้พอดีที่จะสอดเข้าไม้กู่

2. เหล็กแซ้น เป็นโลหะบางๆนิยมทำจากแผ่นทองแดง ให้สอดใต้ลิ้นแคนซึ่งจะหนุนให้ลิ้นสูงขึ้น ทำให้การขูดลิ้นหรือการตกแต่งลิ้นแคนสะดวก

3.ค้อน ใช้ตีโลหะที่หลอมแล้วให้แผ่ออกเป็นแผ่นบางๆเพื่อเตรียมในการสับลิ้นในขั้นต่อไป

4.เขียงทั่ง ใช้รองรับการตีโลหะทองแดง หรือเงิน ในขั้นตอนการทำลิ้นแคน

5.มีดตอก ใช้ในการบาก ตัดไม้กู่แคนและขูดลิ้นแคน เป็นมีดปลายแหลมบริเวรกลางมีดใหญ่หนาและมีด้ามทำด้วยไม้ ด้ามมีดตอกมีความยาวประมาณ  50-60 ซม. บริเวณกว้างสุดของมีดตอกประมาณ 4.5 ซม.และมีความหนาด้านสันมีดประมาณ 4 มม.

6.ขันน้ำ ใช้ตักน้ำมาใช้เพื่อ จุ่ม ล้าง ทำความสะอาด ในขั้นตอนการทำลิ้นแคนและแช่เถาย่านางให้นุ่มก่อนใช้รัดแคน

7.กระดูกช้างใช้ในการรองรับลิ้นแคนในขณะที่ตี กระดูกช้างเป็นกระดูกช้างจริง

8.ไม้มือลิง เป็นไม้สำหรับดัดกู่แคนที่ลนไฟแล้วให้ตรง

9.เหล็กซี เป็นเหล็กปลายแหลมที่นำมาเจาะทะลุปล้องของกู่แคน โดยการเผาไฟให้ร้อนแดงก่อนนำมาเจาะทะลุปล้อง ช่างทำแคนจะมีเหล็กซีไม่ต่ำ กว่า 4  อัน และมีขนาดตั้งแต่เล็กสุดถึงใหญ่สุด

10.โลหะทองแดง หรือโลหะเงิน ใช้ทำลิ้นแคนได้ดี แต่ก่อนลิ้นแคนทำจากกำไลเงิน เข็มขัดเงิน แต่ปัจจุบัน ลิ้นแคนจะซื้อจากช่างที่หลอมเงิน ทองแดง ตำบลปอภาร อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด .

 *  แหล่งผลิตแคน ที่มีคุณภาพดีและได้รับการยอมรับในวงการดนตรีคือ ช่างเคน สมจินดาบ้านสีแก้ว  ช่างบัวบ้านเหล่าขาม   ช่างสี  บ้านหนองตาไก้   ช่างบุญตา  บ้านเขียดเหลือง ตำบลสีแก้ว   อำเภอเมืองร้อยเอ็ด  จังหวัดร้อยเอ็ด    ช่างสุดหรือ นายสุด หมู่หัวนา  บ้านนาทุ่ม อำเภอแก้งคร้อ  จังหวัดชัยภูมิ

 แคนแปดที่ช่างแคนทำจะมีลิ้น  2  ประเภท คือ ลิ้นทองแดง ลิ้นทองเหลืองกับลิ้นเงิน ซึ่งลิ้นเงินมีราคาสูงกว่าเพราะลิ้นเงิน เป็นแคนที่ให้เสียงไพเราะ นุ่มนวล เป็นที่นิยมของหมอแคนอาชีพ

 


 
   

 


 


                                       แผนภูมินิ้วแคนมือขวา 



       
   
   

มือขวา

 
 
 

 

 

 

 

 




















 


 

 



 





 

 

 


การเป่าแคน



                                           
                         
 
     
     
 
       
 
     
 
   
 

















   
   
 
   
 


 


แผนภูมิเปรียบเทียบแสดงรูนิ้วแคน


       
       
 
 




 

 

 

 

 



                                 ม


                                                                       
         
 
                                                 
 
           
 
     
 

 

 

 

 

 



                                 ม



                   
     
 
       
 
       
 
     
       
 






 

ภาพการฝึกจับแคน 

1.เอามือซ้ายขวาประกบเข้าอุ้มเต้าแคน หันด้านรูเป่าของเต้าเข้าหาปากตนเอง  สันมือหนีบเต้าไว้แน่น ปลายมืออยู่เหนือเต้าแคน โดยให้นิ้วทั้งสิบสามารถปิดรูแคนและขยับไปมาได้อย่างอิสระ

2. พับข้อศอกทั้ง 2 ข้าง พยุงเต้าแคนให้รูเป่าเข้าหาปาก  ลำตัวแคนอาจเบี่ยงปลายออกไปทางซ้ายหรือขวาก็ได้ 

การใช้นิ้ว 

1.ปลายนิ้วมือทั้ง  10  นิ้วของผู้เป่ามีหน้าที่ขยับกดปิดหรือเปิดรูนับของลูกแคนแต่ละลูก ลูกแคนจะเกิดเสียงก็ต่อเมื่อถูกนิ้วกดปิดรูนับในขณะที่เป่าออกหรือดูดลมผ่านเต้าแคน

2.นิ้วแต่ละนิ้วกดเฉพาะลูกแคนที่กำหนด  แต่ละมือต้องแบ่งหน้าที่ดังนี้

                                                        นิ้วโป้ง               ใช้กับ             ลูกที่ 1

                                          นิ้วชี้                  ใช้กับ             ลูกที่ 2 และ 3

                                           นิ้วกลาง             ใช้กับ             ลูกที่ 4 และ 5

                                          นิ้วนาง               ใช้กับ             ลูกที่ 6 และ 7

                                          นิ้วก้อย              ใช้กับ             ลูกที่ 8

 

                                          มือซ้าย                                         มือขวา 

ภาพ แผนภูมิการวางตำแหน่งนิ้วและเสียงแคน



การใช้ลม 

 

               แคนเป็นเครื่องดนตรีที่สามารถให้เสียงต่อเนื่องตลอด  เมื่อผู้เป่า เป่าลมและดูดลม  การผ่าลมไปยังลิ้นแคนจะต้องมีความสม่ำเสมอ เมื่อต้องการให้เสียงรัวเร็วหรือเสียงสั้นผู้เป่าจะต้องใช้ลิ้นตัดลมช่วยตัดลมให้ขาดเป็นช่วงๆ เมื่อฝึกจนเกิดความชำนาญแล้วผู้เป่าสามารถเป่าแคนด้วยการหายใจเข้าออกขณะบรรเลง   ควรฝึกใช้ลมจากท้องหรือกระบังลม ไม่ควรใช้ลมจากกระพุ้งแก้ม การฝึกเป่าแคนผู้ฝึกควรปฏิบัติดังนี้

1.ผู้เป่าห่อปากเพื่อให้ปากประกบรูเป่าได้พอดี ไม่ใช่อ้าปากอมเต้า

 2.เวลาเป่าลมเข้าให้ทำปากเหมือนจะเปล่งเสียง  “ ตู ”

 3.เวลาดูดลม  ให้ทำปากเหมือนจะเปล่งเสียงว่า “ฮู”  โดยให้ลมที่ดูดเข้าไปในปาก

 4.ขณะที่เป่าและดูดนั้นจมูกยังหายใจอยู่ แต่ปริมาณลมผ่านมีน้อยกว่าปกติ เพราะ ถูกแบ่งไปผ่านทางปากด้วย  ควรฝึกให้จังหวะการหายใจเข้า-ออกสัมพันธ์กับการดูดเป่าตลอดเวลา  อย่ากลั้นลมหายใจ

 5.แรงของลมเข้าออกแตกต่างกันมีผลต่อสำเนียงของแคน  ความดังเบา (dynamic) ของเสียงแคนขึ้นอยู่กับลมที่ผ่านลิ้น

 6.ผู้เป่าสามารถทำให้เสียงแคนฟังแปลกออกไปได้  ด้วยการทำรูปปากบังคับกระแสลมที่ดูดเป่า  กระทบกับอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการเปล่งเสียง (Speech  organs) ภายในกระพุ้งปาก  ตัวอย่างเช่น  เมื่อผันลิ้นเปล่งเสียงว่า “แต็นแต็น”  หรือ  “แตรแตร”  หรือ  “ดราดรา”  หรือ  “ตุยตุย”  หรือ  “จั้ดจั้ด”  ฯลฯ  ย่อมทำให้มีสำเนียงเสียงแตกต่างกันไป

 7.ความสั้นยาวของลมเป่าดูดมีผลต่อสำเนียงแคนด้วยเช่นกัน  ผู้เป่าสามารถใช้ลม  ยาว ๆ โยงโน้ตหลาย ๆ ตัว  แบบ  legato  ทำให้สำเนียงของเสียงแคนฟังราบเรียบไพเราะอ่อนหวาน  หรือจะตัดลมให้สั้นเน้นเป็นห้วง ๆ กระแทกลมแบบ  Staccato  สำเนียงเพลงก็จะฟังดูร่าเริงสนุกสาน

8.ความกังวาน  (Sonority  หรือ  Sustain)  ของเสียงแคน  นอกจากจะขึ้นอยู่ที่คุณภาพของลิ้นแคนแล้ว  ยังอยู่ที่การใช้เสียงคู่  8  เปอร์เฟคท์  หรือคู่เสียงอ็อคเทฟ (octave) ด้วย  กล่าวคือแม้ทำนองหลักจะเขียนไว้เป็นแนวเดียว  (Single  line)  แต่เวลาปฏิบัติผู้เป่าต้องเปิดรูนับของลูกแคน  2  ลูกทำเสียงคู่  8 เปอร์เฟคท์ไปพร้อมกันตัวอย่างเช่น  เวลาเล่นเสียง “โด”  ต้องปิด รูนับทั้ง  “โดต่ำ”  และ  “โดสูง”  ไปพร้อมกัน

 9.เสียงสั่นพลิ้ว  (Vibrato  และ  tremolo)  ทำได้ด้วยการซอยแบ่งเขย่าลมดูดเป่าสัมพันธ์กับการพรมปลายนิ้วเผยอปิดเปิดรูนับด้วยความรวดเร็ว

(สำเร็จ  คำโมง : 2538)

                 ผู้เป่าแคนสามารถเป่าโดยใช้ลมออกจากปากและดูดลมเข้าไปในปาก เวลาเป่าลมหรือดูดลมผู้เป่าจะต้องใช้นิ้วปิดรูนับเพื่อบังคับให้เกิดเสียงตามความต้องการ นิ้วมือทั้งสองข้างของผู้เป่าต้องทำหน้าที่ปิดรูนับเคลื่อนย้ายไปมาเพื่อทำให้เกิดเสียง นิ้วมือขวาและซ้ายจะต้องทำหน้าที่ปิดรูนับแตกต่างกัน

ดังนี้                                                                    


 

มือขวา 

                  นิ้วหัวแม่มือ     ทำหน้าที่ปิดรู       โป้ขวา (ทุ่ง)    เสียง     ลา

                  นิ้วชี้                 ทำหน้าที่ปิดรู        แม่เซ              เสียง     โด

                                                                   สะแนน          เสียง     ซอล

                  นิ้วกลาง          ทำหน้าที่ปิดรู         ฮับทุ่ง             เสียง     ลา

                                                                   ลูกเวียง           เสียง      ที

                  นิ้วนาง            ทำหน้าที่ปิดรู         แก่น้อย           เสียง      โด

                                                                    ก้อยขวา         เสียง      เร

                  นิ้วก้อย            ทำหน้าที่ปิดรู         เสพขวา          เสียง     ลา

มือซ้าย 

                  นิ้วหัวแม่มือ     ทำหน้าที่ปิดรู       โป้ซ้าย            เสียง      โด

                  นิ้วชี้                 ทำหน้าที่ปิดรู       แม่เวียงใหญ่   เสียง      ที

                                                                   แม่แก่             เสียง      เร

                 นิ้วกลาง            ทำหน้าที่ปิดรู        แม่ก้อยขวา     เสียง      มี

                                                                   แม่ก้อยซ้าย     เสียง      ฟา

                 นิ้วนาง              ทำหน้าที่ปิดรู        สะแนน          เสียง      ซอล

                                                                   ก้อยซ้าย         เสียง      ฟา

                    นิ้วก้อย              ทำหน้าที่ปิดรู        เสพซ้าย        เสียง      ซอล

 

ชื่อเรียกของลูกแคนตามลำดับ  


คู่ที่ 1

คู่ที่ 2

คู่ที่ 3

คู่ที่ 4

คู่ที่ 5

คู่ที่ 6

คู่ที่ 7

คู่ที่ 8

ซ้ายมือ

โป้ซ้าย

เวียงใหญ่ หรือ แม่เวียง

แม่แก่

แม่ก้อยขวา

แม่ก้อยซ้าย

สะแนน

ก้อยซ้าย

เสพซ้าย

ขวามือ

ทุ่ง หรือ โป้ขวา

แม่เซ

สะแนน

ฮับทุ่ง

เวียงน้อย หรือ ลูกเวียง

แก่น้อย

ก้อยขวา

เสพขวา


ลูกแคนเทียบเป็นโน้ตไทย ได้ดังนี้ 

 

คู่ที่1

คู่ที่2

คู่ที่3

คู่ที่4

คู่ที่5

คู่ที่6

คู่ที่7

คู่ที่8

ซ้ายมือ

ทฺ

รฺ

มฺ

ซํ

ขวามือ

ลฺ

ดฺ

ลํ




แบบฝึกหัดที่ 1(เป่าเสียง โด) 

                 ให้ใช้นิ้วกดปิดเสียง “โด” โดยที่มือซ้าย ใช้นิ้วโป้งกดปิดรูในลูกที่ 1 แพซ้าย และมือขวา ใช้นิ้วชี้ กดปิดรูในลูกที่ 2  แพขวา และใช้ปลายเท้าเคาะลงในจังหวะที่ 4  อย่างสม่ำเสมอ เป่าลม และดูดลมเข้า-ออก ตามจังหวะ เป่าซ้ำหลายๆ รอบจนเข้าใจ ตามแบบฝึกต่อไปนี้


แบบฝึกที่  1.1 

   ฝึกเป่าจังหวะที่ 1 , 2 ,  3 , 4    เป่าครั้งละ 4 เสียง( 1 ลม ต่อ 4  เสียง) ทำปากขณะเป่า “ ตู ตู ลู ตู”


1 2 3 4

1 2 3 4

1 2 3 4

1 2 3 4

ด ด ด ด

ด ด ด ด

ด ด ด ด

ด ด ด ด

ตู ตู ลู ตู

ตู ตู ลู ตู

ตู ตู ลู ตู

ตู ตู ลู ตู

           

 แบบฝึกที่  1.2 

  ฝึกเป่าในจังหวะที่  2 ,  4    เป่าครั้งละ 2 เสียง( 1 ลม ต่อ 2 เสียง)ทำปากขณะเป่า “  ลู ตู ”


1 2 3 4

1 2 3 4

1 2 3 4

1 2 3 4

- ด - ด

- ด - ด

- ด - ด

- ด - ด

  -  ลู  - ตู

-  ลู  - ตู

-  ลู  - ตู

-  ลู  - ตู



                          แบบฝึกที่  1.3

  ฝึกเป่าในจังหวะที่  2 ,  3 , 4    เป่าครั้งละ 3 เสียง( 1 ลม ต่อ 3 เสียง)ทำปากขณะเป่า “  ตู ลู ตู”


1 2 3 4

1 2 3 4

1 2 3 4

1 2 3 4

- ด ด ด

- ด ด ด

- ด ด ด

- ด ด ด

-  ตู ลู ตู

-  ตู ลู ตู

-  ตู ลู ตู

-  ตู ลู ตู



                          แบบฝึกที่  1.4

ฝึกเป่าในจังหวะที่  2 ,  4  และ  2 , 3 , 4  เป่าครั้งละหนึ่งห้องเพลง( 1 ลม ต้องเป่าให้ได้ 1 ห้อง)

                        ทำปากขณะเป่า    “  ลู  ตู ”    “   ตู ลู ตู”  “  ลู ตู ”   “  ตู ลู ตู” 

1 2 3 4

1 2 3 4

1 2 3 4

1 2 3 4

- ด - ด

- ด ด ด

- ด - ด

ด ด ด ด

  -  ลู - ตู

-  ตู ลู ตู

  -  ลู - ตู

-  ตู ลู ตู

 

 

 

 


    แบบฝึกที่  1.5

ฝึกเป่าในจังหวะที่   4  และ  2 , 3 , 4  4  เป่าครั้งละหนึ่งห้องเพลง( 1 ลม ต้องเป่าให้ได้ 1 ห้อง)

ทำปากขณะเป่า “   ตู ”    “  ตู ลู ตู”    “ ลู ตู”    “  ตู ลู ตู”  

 

1 2 3 4

1 2 3 4

1 2 3 4

1 2 3 4

 -  -  - ด

- ด ด ด

- ด - ด

ด ด - ด

  -  -  - ตู

-  ตู ลู ตู

-  ลู -  ตู

  ตู ลู  - ตู

 

                       แบบฝึกที่  1.6

ฝึกเป่าในจังหวะที่  4  และ  (1 , 2 , 4) (1 , 2 , 4)  (1 , 2 , 4)   เป่าครั้งละหนึ่งห้องเพลง( 1 ลม ต้องเป่าให้ได้ 1 ห้อง)



1 2 3 4

1 2 3 4

1 2 3 4

1 2 3 4

-  -  - ด

ด ด - ด

ด ด - ด

ด ด - ด

  -  -  -  ตู

  ตู ลู  - ตู

  ตู ลู  - ตู

  ตู ลู  - ตู

 

หมายเหตุ

                   แบบฝึกดังกล่าวสามารถนำไปใช้กับเสียงอื่นๆ เช่น    เร  มี  ฟา  ซอล  ลา  ที  โด

*   ารเป่าจ่าดแคน คือ

          ­   

-  -  -   ร

      ซ , ฟ

          ล

 

-  -  -  -

 

-  -  -  -

 

-  -  -  -

          ­   

-  -  -   ล

          ด

          ม

 

-  -  -  -

 

-  -  -  -

 

-  -  -  -

แคนลายน้อย   กดเสียง  ร,ซ ,ฟ,ล พร้อมกันแล้วเป่าลมออก 1 ลมยาวกดเสียง  เร รูเดียวแล้วพรมนิ้ว

แคนลายใหญ่   กดเสียง  ล,ด,ร,ม พร้อมกันแล้วเป่าออก 1 ลมยาว กดเสียง มี  รูเดียวแล้วพรมนิ้ว

         การฝึกหัดใช้นิ้วบังคับรูนับไล่เสียงเป็นคู่ๆ ในเบื้องต้น ผู้ฝึกหัดอาจไม่ถนัดในตอนแรก เมื่อฝึกหัดบ่อยๆ

จะมีความคล่องแคล่วขึ้น  และควรฝึกไล่เสียงอยู่เสมอ ตามแบบฝึกหัดต่อไปนี้


         ­

-  -  -  ด

         ¯

-  -  -  ร

         ­

-  -  -  ม

         ¯

-  -  -  ฟ

         ­

-  -  -  ซ

         ¯

-  -  -  ล

         ­

-  -  -  ท

         ¯

-  -  -  ด

         ­

-  -  -  ด

          ¯

-  -  -  ท

         ­

-  -  -  ล

         ¯  

-  -  -  ซ

          ­

-  -  -  ฟ

        ¯

-  -  -  ม

         ­

-  -  -  ร

         ¯

-  -  -  ด


  ารเป่าโดยใช้ลิ้นตัดลม

        เป็น วิธีการเป่าที่ผู้เป่าจะต้องฝึกใช้ลิ้นตัดลมหรือการกระดกลิ้นออกเสียง” ตา ”

 ข้อควรจำ

1.เวลาเป่าลายใหญ่รูนับที่เสพขวา ( เสียง มี ) ให้ใช้ขี้สูดปิดทับรูไว้ตลอด  จะทำให้เกิดเสียงประสานเวลาเป่า

2.เวลาเป่าลายสุดสะแนนรูนับที่เสพซ้าย(เสียงซอล) และสะแนนน้อย ( เสียง ซอล ) ให้ใช้ขี้สูดปิดทับรูไว้ตลอด

จะทำให้เกิดเสียงประสานเวลาเป่า               

ภาพการปิดนิ้วรูแคน




 

การเลือกแคน

แคนที่มีขายอยู่โดยทั่วไปนั้นมีหลายราคา  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของแคน ซึ่ง ดร.เจริญชัย   ชนไพโรจน์ (2515  :  12 – 13) ได้กล่าวถึงวิธีเลือกแคนเพื่อเป็นแนวทางไว้ดังนี้

1.ไม่กินลม  หมายความว่า  เวลาเป่าไม่ต้องใช้ลมมากก็ดัง  เพราะแคนที่ใช้ลมเป่ามากจะทำให้ผู้เป่าเหนื่อยเร็ว   แคนจะกินลมมากน้อยอาจจะขึ้นอยู่กับขนาดของแคน  ถ้าแคนขนาดใหญ่มักจะกินลมกว่าแคนขนาดเล็ก  แต่สาเหตุสำคัญมักจะเนื่องมาจากลิ้นแคนที่หนาและแข็ง  มักจะกินลมมากหรืออาจจะเป็นเพราะมีรูรั่วต่าง ๆ ตามเต้าแคนซึ่งชันอุดไม่สนิทก็เป็นได้

2.เสียงหนึ่ง ๆ ควรจะดังเท่ากัน ทั้งเวลาสูดลมเข้าและเป่าลมออกเสียงทุกเสียงควรจะดังเท่ากันคู่เสียงของแคนซึ่งเป็นคู่ควรจะดังเท่ากันและมีระดับเสียงเข้าคู่กันอย่างสนิท  ไม่มีผิดเพี้ยนแม้แต่เพียงเล็กน้อย จึงจะได้คู่เสียงที่กลมกล่อมไม่กระด้างควรจะเลือกแคนที่มีขนาดพอเหมาะกับมือของผู้เป่า  ทั้งนี้ต้องให้ได้ขนาดพอเหมาะ จึงจะกดนิ้วได้สะดวก

การเก็บรักษาแคน

แคนเป็นเครื่องดนตรีที่บอบบาง อาจชำรุดเสียหายได้ง่าย ต้องดูแลรักษาอย่างดี  จึงควรทราบวิธีเก็บรักษา ดังนี้

1.แคนถือเป็นเครื่องดนตรีที่มีครูบาอาจารย์ ดังนั้นไม่ควรนำแคนไปใช้หยอกล้อต่อสู้กันเด็ดขาด เพราะถือว่าไม่เคารพครูบาอาจารย์  และไม่ควรนำแคนไปวางตากแดดหรือเอาไว้ใกล้ความร้อน เพราะจะทำให้ขี้สูด(ชันโรง)ที่อุดตามเต้าแคนละลายไหลไปเกาะติดที่ลิ้นแคน ทำให้เป่าไม่ดัง ควรจะเก็บแคนไว้ในถุงผ้าหรือกล่องที่แข็งแรง และมิดชิด เพื่อกันแมลงหรือฝุ่นไม่ให้ไปเกาะรูกู่แคน และลิ้นแคนจะทำให้แคนชำรุด รวมถึงป้องกันการกระทบกระแทกเพราะแคนจะแตกได้ง่าย

2.ควรจะเป่าอยู่เสมอ การเป่าบ่อย ๆ จะทำให้แคนมีเสียงดีและนุ่มนวล แต่อย่าใช้ลมเป่ากระโชกโฮกฮาก เพราะจะทำให้ปลายลิ้นแคนโก่งขึ้นหรือฟุบลงได้ เวลาเป่าลมเข้าหรือสูดลมออกจะดังไม่เท่ากันไม่ควรนำแคนไปจุ่มน้ำหรือแช่น้ำ เพราะจะทำให้ลิ้นแคนเป็นสนิม

3.ควรแขวนหรือเก็บแคนไว้ในที่ที่แน่ใจว่าปลอดภัย ไม่ควรวางแคนในที่ที่จะทำให้แตกง่าย เช่น วางไว้บนที่สูง หรือวางไว้ตามโต๊ะเก้าอี้ วางไว้ตามพื้นห้อง พื้นสนาม เพราะอาจจะเผลอทำตกหรือเดินไปเหยียบแตกได้

ถ้าไม่กู่แคนแตกเพียงเล็กน้อย อาจจะซ่อมแซมได้โดยใช้ด้ายไหม หรือสก็อตเทปพันให้คงรูปในสภาพที่ดีอย่างเดิม แต่ถ้าแตกมากก็ต้องเปลี่ยนไม้กู่แคนนั้นใหม่ จึงจะใช้การได้

4.ถ้าเสียงกู่ใดไม่ดัง ก็อาจจะถอดกู่นั้นออกมาปัดฝุ่น เช็ดลิ้นแคนให้สะอาด เพราะบางทีอาจมีมดหรือแมลงตัวเล็ก ๆ เข้าไปติดอยู่ตามลิ้นแคนได้เวลาสูดลมเข้าหรือเป่าลมออกโดยที่ไม่กดนิ้ว ถ้าหากมีเสียงดังก็แสดงว่าลิ้นแคนใดลิ้นแคนหนึ่ง จะต้องโก่งหรือฟุบลงแน่ ๆ จำเป็นต้องถอดกู่แคนนั้นออกมาดัดลิ้นให้ตรงได้ระดับ โดยใช้ปลายเข็มหรือใบมีดโกนบาง ๆ สำหรับยกลิ้นแคนขึ้น แล้วใช้เล็บมือกรีดลิ้นแคนเบา ๆ เพื่อดัดให้ได้ระดับ




Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 62,192 Today: 34 PageView/Month: 1,518

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...